Page 223 - kpi18886
P. 223
215
ภายใต้อิทธิพลของนายทุนระดับชาติกับเทคโนแครต และแปรสภาพเป็นตระกูล
109
นักการเมืองอย่างเต็มตัว วิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโทเรื่อง “การสร้างทายาท
ทางการเมืองของตระกูลการเมืองไทย” ของธวัชชัย กฤติยาภิชาตกุล มีการ
ประเมินว่านับตั้งแต่ประเทศไทยมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรก
ใน พ.ศ. 2476 จนถึงการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในปี 2539 มีตระกูล
นักการเมืองรวมทั้งสิ้น 97 ตระกูล โดยตระกูลนักการเมืองเหล่านี้มีการสืบทอด
ทายาททางการเมืองในลักษณะที่เป็นการสานต่ออุดมการณ์ทางการเมืองจากบิดา
110
มายังบุตรมากที่สุด ส่วนวิธีการสานต่อทายาททางการเมืองที่นิยมคือ
การลงสมัครรับเลือกตั้งคู่กันระหว่างบุคคลที่เป็นนักการเมืองรุ่นพ่อกับบุคคลที่เป็น
ทายาททางการเมือง ซึ่งส่วนใหญ่มีพื้นฐานอาชีพก่อนเข้าสู่วงการการเมืองเป็น
นักธุรกิจมากที่สุด และในการลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
นั้น บุคคลที่เป็นทายาททางการเมืองไม่จำเป็นต้องผ่านประสบการณ์การเลือกตั้ง
ระดับท้องถิ่นมาก่อนก็ได้ แต่ความสำเร็จของตระกูลการเมืองในการสืบทอด
ทายาทนั้นจะขึ้นอยู่กับระยะเวลาในการเคลื่อนไหวทางการเมืองในพื้นที่ของตระกูล
การเมืองเหล่านั้นอย่างต่อเนื่องและยาวนานพอสมควรมากกว่า โดยจากผลการศึกษา
ของธวัชชัย กฤติยาภิชาตกุล พบว่า ตระกูลการเมืองส่วนมากจะมีการเคลื่อนไหว
ทางการเมืองในพื้นที่ประมาณ 20-30 ปี 111
เมื่อทำการศึกษาเชิงลึกตระกูลการเมืองที่มีบทบาทสำคัญในช่วงนั้น
5 ตระกูล ได้แก่ ตระกูล “ทองสวัสดิ์” จังหวัดลำปาง ตระกูล “ลิมปะพันธุ์”
จังหวัดสุโขทัย ตระกูล “อังกินันท์” จังหวัดเพชรบุรี ตระกูล “มาศดิตถ์” จังหวัด
นครศรีธรรมราช และตระกูล “จุรีมาศ” จังหวัดร้อยเอ็ด วิทยานิพนธ์ของธวัชชัย
กฤติยาภิชาตกุลค้นพบว่าสาเหตุในการสร้างทายาททางการเมืองของตระกูล
การเมืองต่างๆ นั้นอาจมีความแตกต่างกันไปตามเหตุผลและเงื่อนไขของแต่ละ
109 Pasuk Phongpaichit and Chris, Baker. (1997). “Power in Transition: Thailand in
the 1990s” in Political Change in Thailand, edited by Kevin. Hewison. London:
Routledge.
110 ธวัชชัย กฤติยาภิชาตกุล. (2541). การสร้างทายาททางการเมืองของตระกูลการเมือง
ไทย. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต (การปกครอง) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
111 เพิ่งอ้าง.
การประชุมกลุมยอยที่ 1