Page 224 - kpi18886
P. 224
216
ตระกูล แต่เหตุผลสำคัญประการหนึ่งที่ทุกตระกูลมักอ้างถึงก็คือ ความผูกพันกับ
ประชาชนในพื้นที่ซึ่งตระกูลการเมืองนั้นๆ ได้มีการเคลื่อนไหวทางการเมืองมาเป็น
เวลานาน และต้องการให้ทายาทเข้ามาสานต่ออุดมการณ์ทางการเมืองที่ตระกูลได้
112
วางรากฐานไว้ ส่วนสาเหตุที่การสถาปนาอำนาจ และอิทธิพลทางการเมืองของ
ตระกูลนักธุรกิจท้องถิ่นมีการเติบโตอย่างรวดเร็วในช่วง พ.ศ. 2522-2539 นั้น
สามารถอธิบายได้ว่าเป็นเพราะธรรมชาติของนายทุนต่างจังหวัดที่มักจะทำธุรกิจใน
ลักษณะธุรกิจครอบครัว และพยายามผูกขาดผลประโยชน์และอภิสิทธิ์ทางธุรกิจ
113
ผ่านกลไกระบบราชการ “ตระกูลเทียนทอง” จากการศึกษาข้อมูลนักการเมือง
ถิ่นจังหวัดสระแก้วของนพรัตน์ วงศ์วิทยาพาณิชย์ นับเป็นตัวอย่างความสำเร็จของ
ตระกูลนักธุรกิจท้องถิ่นที่สามารถพัฒนาตัวเองขึ้นมาเป็นตระกูลนักการเมืองที่มี
อิทธิพลต่อการเข้าสู่ตำแหน่งทางการเมืองการปกครองในระดับชาติ โดยเฉพาะ
บทบาทในการจัดวางและประสานเครือข่ายนักการเมืองภูมิภาคเพื่อสนับสนุน
บุคคลเข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในช่วง พ.ศ.2535 – 2544 จนนายเสนาะ
114
เทียนทองได้รับฉายาจากสื่อมวลชนว่า “มือปั้นนายกรัฐมนตรี ”
การได้มาซึ่งนักการเมืองผ่านการเลือกตั้งของไทยมาถึงจุดเปลี่ยนที่สำคัญ
อีกครั้งเมื่อประเทศไทยต้องเผชิญกับวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจในปี 2540 และมี
การประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 เหตุการณ์
ความเปลี่ยนแปลงทั้งสองนับว่ามีส่วนอย่างยิ่ง ในการทำให้เครือข่ายธุรกิจ
ขนาดใหญ่สามารถเข้าครอบงำพรรคการเมืองได้ และการเข้าครอบงำดังกล่าว
ได้ส่งผลต่อรูปแบบของการได้มาซึ่งนักการเมืองผ่านการเลือกตั้งในช่วงเวลา
ต่อจากนั้นอย่างมีนัยยะสำคัญ
112 เพิ่งอ้าง.
113 Anek Laothamatas. (1988). “Business and Politics in Thailand: New Patterns of
Influence.” Asian Survey 28 (4): 451-470; Tamada, Yoshifumi. (1991). “Itthiphon and
Amnat: An Informal Aspect of Thai Politics.” Southeast Asian Studies 28 (4): 445–
465.
114 “เส้นทางการเมือง 36 ปี ของ “เสนาะ เทียนทอง” มือปั้นนายกรัฐมนตรี…อะไรฉุดรั้ง
ไม่ยอมวางมือ.” (2555). ไทยพับลิก้า, 20 มกราคม. สืบค้นจาก < http://thaipublica.org/
2012/01/snoh-thienthong-36-year-political/)> เข้าถึงเมื่อ 31 มกราคม 2560.
การประชุมกลุมยอยที่ 1