Page 230 - kpi18886
P. 230
222
เชียงใหม่สามโซน โครงการฝังสายไฟฟ้าลงใต้ดิน และโครงการแก้ปัญหาคลอง
135
กลางเมืองที่มีปัญหาน้ำเน่าเสีย เป็นต้น
สำหรับนักวิชาการบางท่านสภาพแวดล้อมและความสัมพันธ์ทางการเมือง
ข้างต้นยังคงดำรงอยู่ แม้ภายหลังเกิดเหตุการณ์รัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน
2549 และการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
ซึ่งมีการนำกติกาและกลไกเชิงสถาบันในช่วงก่อนปี 2540 กลับมาปรับใช้โดย
มุ่งหวังว่าจะช่วยลดทอนอำนาจผูกขาดของกลุ่มทุนขนาดใหญ่ในระบบการเมือง
136
ไทยลงได้บ้าง แต่สำหรับนักวิชาการคนอื่นๆ “การเมืองในระบบสภาของเรา...
[ยังคง] เป็นเรื่องของการต่อรองกันระหว่างกลุ่มตระกูลหรือครอบครัว (และ
137
เครือข่าย) เพียงไม่กี่ครอบครัวเท่านั้น ” ในลักษณะที่มีผู้นำหรือตระกูลนักการเมือง
ที่มีทั้งอำนาจการเมืองและอำนาจเศรษฐกิจควบคู่กันจำนวนไม่มากเป็นผู้ผูกขาด
อำนาจการตัดสินใจในพรรคการเมือง ทำให้พรรคการเมืองของไทยมีลักษณะเป็น
“พรรคของผู้นำ (elite parties)” ที่มีโครงสร้างองค์กรที่อ่อนแอ มีอุดมการณ์
ทางการเมืองที่ไม่ชัดเจน และขาดศักยภาพในการริเริ่มและผลักดันนโยบาย
138
กลุ่มการเมืองตลอดจนตระกูลนักการเมืองอื่นๆ โดยเฉพาะในต่างจังหวัด เข้าร่วมกับ
พรรคการเมืองโดยมุ่งความสนใจไปที่การคัดเลือกบุคคลเพื่อลงสมัครรับเลือกตั้ง
และแสดงบทบาทในทางนิติบัญญัติและมีตำแหน่งบริหารเท่านั้น ภายใต้ความ
สัมพันธ์เช่นนี้ นักวิชาการบางท่านถึงกับสรุปว่า ความสามารถของผู้สมัครรับ
เลือกตั้งอาจจะไม่สำคัญเท่ากับการมีคนในครอบครัวรุ่นก่อนหรือเครือข่ายที่มี
ความสัมพันธ์แน่นแฟ้น (เส้นสาย) กับพรรคการเมือง แม้ในพื้นที่ที่มีการแข่งขัน
สูงมาก การสืบทอดอำนาจของตระกูลนักการเมืองก็ยังจะดำเนินต่อไป แต่อาจ
เป็นไปในลักษณะของการส่งผู้สมัครที่มีคุณสมบัติสูง ลงแข่งขันแทนบุคคลที่มา
จากสายเลือดเดียวกัน [ซึ่งอาจจะยังมีคุณสมบัติไม่ถึงเกณฑ์] เพื่อโอกาสที่มากก
135 เวียงรัฐ เนติโพธิ์. (2552). ทุนเชียงใหม่. กรุงเทพฯ: โอเพ่นบุคส์, หน้า 61-69.
136 McCargo, Duncan. (2008). “Thailand: State of Anxiety.” Southeast Asian
Affairs 2008: 332-356.
137 นิธิ เอียวศรีวงศ์. (2554). วงศาคณาญาติ. มติชนรายวัน, 8 สิงหาคม.
138 Chambers, Paul and Aurel Croissant. (2010). Intra-Party Democracy in Thailand.
Asian Journal of Political Science 18 (2), p. 217.
การประชุมกลุมยอยที่ 1