Page 231 - kpi18886
P. 231
223
ว่าในการชนะเลือกตั้งและการรักษาอำนาจไว้ในเครือข่ายของตนเอง 139
ความส่งท้าย
การได้มาซึ่งนักการเมืองผ่านการเลือกตั้งของไทยกำลังเผชิญกับบททดสอบ
ครั้งใหม่ภายหลังการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช
2560 ซึ่งมีเจตนารมณ์สำคัญในการกำหนดกลไกเพื่อจัดระเบียบและสร้างความ
เข้มแข็งแก่การปกครองประเทศขึ้นใหม่ด้วยการจัดโครงสร้างของหน้าที่และอำนาจ
ขององค์กรต่างๆ ตามรัฐธรรมนูญ และสัมพันธภาพระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติกับ
ฝ่ายบริหารให้เหมาะสม การให้สถาบันศาลและองค์กรอิสระอื่นซึ่งมีหน้าที่
ตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สุจริต
เที่ยงธรรมและมีส่วนในการป้องกันหรือแก้ไขวิกฤติของประเทศตามความจำเป็น
และความเหมาะสม การวางกลไกป้องกัน ตรวจสอบ และขจัดการทุจริต
และประพฤติมิชอบที่เข้มงวด เด็ดขาด เพื่อมิให้ผู้บริหารที่ปราศจากคุณธรรม
จริยธรรม และธรรมาภิบาลเข้ามามีอำนาจในการปกครองบ้านเมืองหรือใช้อำนาจ
ตามอำเภอใจ ตลอดจนได้กำหนดกลไกอื่นๆ เพื่อใช้เป็นกรอบในการพัฒนา
ประเทศตามแนวนโยบายแห่งรัฐและยุทธศาสตร์ชาติซึ่งผู้เข้ามาบริหารประเทศ
แต่ละคณะจะได้กำหนดนโยบายและวิธีดำเนินการที่เหมาะสมต่อไป จะเห็นได้ว่า
แนวทางตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญดังกล่าวมุ่งแก้ไขปัญหาการเข้าสู่ตำแหน่ง
ผู้แทนทางการเมืองของนักการเมืองหรือพรรคการเมืองที่ไม่นำพาหรือไม่นับถือ
ยำเกรงกฎเกณฑ์การปกครองบ้านเมืองทุจริตฉ้อฉลหรือบิดเบือนอำนาจ หรือ
ขาดความตระหนักสำนึกรับผิดชอบต่อประเทศชาติและประชาชนจนทำให้
การบังคับใช้กฎหมายไม่เป็นผล มิให้นักการเมืองหรือพรรคการเมืองที่มี
พฤติกรรมตามลักษณะดังกล่าวเข้ามาดำรงตำแหน่งสำคัญทางการเมืองได้
หรือหากเข้ามาได้ก็มีป้องกันมิให้นักการเมืองหรือพรรคการเมืองเหล่านั้นสามารถ
ใช้อำนาจได้ตามใจชอบจนก่อความเสียหายแก่บ้านเมือง
ถือเป็นบททดสอบที่ “ท้าทาย” อย่างยิ่งสำหรับการพัฒนาประชาธิปไตย
ในประเทศไทยหากพิจารณาจากประสบการณ์ที่ผ่านๆ มา
139 พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์. (2555). “ว่าด้วยเรื่องราชวงศ์ทางการเมือง (political dynasty).”
คม ชัด ลึก 24 เมษายน, หน้า 4.
การประชุมกลุมยอยที่ 1