Page 235 - kpi18886
P. 235

227




                         ดุลที่สอง โดยใช้สถาบันการเมืองดุลกันเอง คือ Balanced government

                   ซึ่งใกล้เคียงกับ Balanced constitution คล้ายระบบรัฐบาลผสม ที่ไม่ได้หมายถึง
                   คณะรัฐมนตรีเท่านั้น แต่รวมถึงองค์กรต่างๆ ที่ใช้อำนาจการเมืองการปกครอง
                   ในการบริหารประเทศ องค์กรเหล่านี้ต้องจัดอยู่ในสภาพที่ถ่วงดุล เช่น สภาจะออก

                   กฎหมายได้มากน้อยขนาดไหน ฝ่ายบริหารออกได้หรือไม่ ฝ่ายบริหารบอก
                   แบ่งแยกอำนาจ แต่จริงๆ แล้วอำนาจส่วนหนึ่งอยู่ที่สภา และอำนาจอีกส่วนอยู่ที่
                   ฝ่ายบริหาร ดังนั้นจะเห็นว่าให้สภา (ฝ่ายนิติบัญญัติ) ออกกฎหมายโดยสิ้นเชิง

                   ไม่มีเพราะฝ่ายบริหารก็สามารถออกได้เช่นกัน ตัวอย่าง  สหรัฐอเมริกาที่บอกว่า
                   แบ่งแยกอำนาจโดยเด็ดขาด หากเป็นเช่นนั้นจริงประธานาธิบดีจะออกคำสั่งไม่ให้
                   คนบางประเทศเข้าสหรัฐอเมริกาได้อย่างไร ในทางปฏิบัติอำนาจออกกฎหมายและ

                   อำนาจบริหารได้แบ่งกระจัดกระจายกันไปในบรรดาองค์กรบริหารและปกครอง
                   ประเทศ


                         ดุลที่สาม ดุลอำนาจระหว่างชนชั้น เป็นเรื่องของ power relation คือ
                   ชนชั้นนำและชนชั้นผู้ถูกปกครองจะจัดดุลอำนาจอย่างไร การแบ่งระหว่าง
                   ชนชั้นนำของเราสามารถขึ้นได้ ลงได้ ไม่มีการแบ่งชัดเจน ต่างจากในยุโรป ดังนั้น

                   การแบ่งระหว่างชนชั้นนำกับมวลชนจึงเป็นดุลยภาพชนิดหนึ่ง ซึ่งพวกฝ่ายซ้าย
                   ชอบใช้เรื่องนี้ในการสร้างดุลดังที่เห็นวาทกรรมว่าด้วยอำมาตย์กับไพร่ ซึ่งเรื่องนี้
                   จะจริงเพียงใดต้องดูสภาพสังคมวิทยาของเราเองว่าจะจริงจังกับเรื่องการแบ่ง

                   ชนชั้นนำกับมวลชนหรือไม่

                         ดุลที่สี่ ดุลในเชิงอุดมการณ์ ชนชั้นจะแยกอย่างไรก็ตาม ก็จะพบชนชั้นนำ

                   ทั้งที่เป็นฝ่ายซ้าย และเป็นพวกอนุรักษ์ เช่นกันชนชั้นล่างเองก็มีทั้งหัวก้าวหน้า
                   และอนุรักษ์นิยม กรรมกรหัวก้าวหน้าก็มี กรรมกรอนุรักษ์นิยมก็มี อุดมการณ์
                   ทางการเมืองมีความแตกต่างหลากหลายและอุดมการณ์ที่กระทบต่อดุลยภาพของ

                   ประชาธิปไตยคือพวก extreme - พวกสุดโต่งในทางการเมือง ดุลนี้เราจะจัดการ
                   อย่างไร ตัวอย่าง ฝ่ายขวาสุดโต่งผิวขาวที่ไล่ผิวสีอื่นออกไปนอกประเทศให้หมด
                   หรือฝ่ายซ้ายสุดโต่งก็มีปัญหาเช่นกัน เมื่ออุดมการณ์คือความเชื่อความศรัทธาต่อ

                   หลักการปกครองประเทศ ต่อความดีความงามว่าควรจะเป็นเช่นไร ดังนั้น
                   จะจัดการอย่างไรให้มีดุลภาพในเชิงของอุดมการณ์






                                                                     การประชุมกลุมยอยที่ 2
   230   231   232   233   234   235   236   237   238   239   240