Page 236 - kpi18886
P. 236

228




                     ดุลสุดท้าย ดุลภาพในเชิง social force ซึ่งเป็นพลังอำนาจอย่างหนึ่ง

               มีลักษณะที่ไม่แน่นอน ความสัมพันธ์เชิงอำนาจมักมีกลุ่มคนใหม่ๆ เกิดขึ้น
               ตลอดเวลา กลุ่มชนชั้นนำรุ่นใหม่ กลุ่มโทรศัพท์มือถือ กลุ่มนักร้อง หรือการเกิด
               ขึ้นของการค้าขายออนไลน์ นี่คือ อำนาจของ social Force คนจนรุ่นใหม่ คนรวย

               รุ่นใหม่เหล่านี้ก็เป็น social force ทั้งสิ้น แล้วจะมาดุลกันอย่างไร การวิเคราะห์
               ดุลข้อ 2 จะคาดการณ์ไม่ได้วิเคราะห์ไม่ออกหากเดาข้อ 5 นี้ไม่ได้ ซึ่งดุลภาพของ
               สถาบันการเมืองน่าจะนิ่งได้ แต่ไม่นิ่งเพราะข้อ 4 และ 5 และข้อ 5 เป็นเรื่องเดา

               ไม่ได้ว่า social force คือ กลุ่มพลังทางเศรษฐกิจ สังคม ผู้ประกอบการค้าใหม่ๆ
               เศรษฐกิจใหม่ๆ  ชนชั้นนำใหม่ คิดอย่างไรกับการเมือง


                     อย่างไรก็ตามต่อให้มีรัฐธรรมนูญอีก 20 ฉบับไทยไม่แกว่งมาก เพราะ
               การเมืองไทยไม่ได้แกว่งหรือเปลี่ยนไปมามาก ต่างจากฝรั่งเศสที่เปลี่ยนจาก
               กษัตริย์เป็นนโปเลียน แล้วกลับมาเป็นระบบกษัตริย์อีก มีการเลือกประธานาธิบดี

               ประธานาธิบดีตั้งตนเป็นจักรพรรคิ นั่นคือการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง
               เลย แต่ไทยไม่ได้เป็นเช่นนั้น การสร้างดุลเราจึงต้องอดทนในเรื่องที่ควรอดทน
               คืออดทนต่อการเจรจาปัญหาต่างๆ ทางการเมือง อดทนต่อการสืบหาข้อเท็จจริง

               อดทนต่อการเปลี่ยนแปลง อดทนต่อความแตกต่าง จะเห็นว่าประชาธิปไตยไม่ได้
               อยู่แบบ pure form แต่ต้องผสมจะผสมกับ Liberal, Representative,
               Presidential, Parliamentary หรือ Constitutional ก็ตาม สำหรับ Constitutional

               democracy ของเรามีหลักการสำคัญดำรงอยู่ไม่ว่าในฉบับใดๆ ได้แก่ พระมหา-
               กษัตริย์ทรงเป็นประมุข และรัฐไทยเป็นรัฐเดี่ยว ซึ่งสิ่งนี้ทำให้การมีรัฐธรรมนูญ
               ของไทยไม่ว่าจะอีกกี่ฉบับก็ไม่แกว่งมาก
























                   การประชุมกลุมยอยที่ 2
   231   232   233   234   235   236   237   238   239   240   241