Page 245 - kpi18886
P. 245

237




                         กรณีของสังคมไทยก็เป็นไปในลักษณะเช่นเดียวกันที่วัฒนธรรมทางการเมือง

                   ภายใต้กรอบคิด “ความเป็นไทย” เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ละเมิดไม่ได้ เป็นกลไกสำคัญ
                   ยิ่งกว่ารัฐธรรมนูญฉบับลายลักษณ์อักษรในการจัดดุลแห่งอำนาจภายใต้การช่วงชิง
                   นิยามความหมายของ “ระบอบประชาธิปไตยแบบไทย ๆ” ดังนั้น ดุลอำนาจ

                   ที่ปรากฏอยู่ในระบบวัฒนธรรมไทย เช่น สถาบันกองทัพ สถาบันราชการ สถาบัน
                   พระพุทธศาสนา จึงเป็นดุลอำนาจที่รัฐธรรมนูญฉบับลายลักษณ์อักษรไม่สามารถ
                   เข้าถึงการจัดดุลแห่งอำนาจเหล่านี้ได้อย่างแท้จริง อย่างไรก็ตาม การรับเอา

                   แนวคิดรัฐธรรมนูญนิยมจากตะวันตกทำให้สังคมไทยเชื่อว่า อำนาจนั้นอาจ
                   แบ่งแยกได้ และรัฐธรรมนูญจะเป็นเครื่องมือสำคัญในการจัดความสัมพันธ์ของ
                   ดุลแห่งอำนาจในระบอบประชาธิปไตย แต่ในสภาพความเป็นจริงของสังคมไทยนั้น

                   อำนาจไม่อาจแบ่งแยกได้อย่างชัดเจน อำนาจและอิทธิพลจึงเป็นสิ่งที่เกิดคู่ขนาน
                   กัน


                         โยชิฟูมิ ทามาดะ (Yoshifumi Tamada) อธิบายคำว่า “อิทธิพล”
                   ในระบบการเมืองไทยว่า คนไทยเห็นว่าอำนาจนั้นมีสองอย่าง อย่างแรกคือ
                   อำนาจที่ถูกต้องตามกฎหมายหรือประเพณี คนไทยเรียกว่า “อำนาจ” อย่างที่

                   สองคือ อำนาจที่ไม่มีกฎเหมายหรือประเพณีรับรองแต่ก็มีพลังเหมือนกับอำนาจ
                   อย่างแรก คนไทยเรียกว่า “อิทธิพล” (Tamada, Y., 1991 ใน นิธิ เอียวศรีวงศ์,
                   2547: 139-140) อิทธิพล มีมาในสังคมไทยแต่โบราณ และไม่ใช่สิ่งที่ขัดแย้งกับ

                   อำนาจด้วย เพราะเมื่ออำนาจต้องปะทะอิทธิพล แทนที่จะปราบปรามอิทธิพล
                   ให้เหลือแต่อำนาจอย่างเดียว อำนาจไม่มีพลังจะทำเช่นนั้นได้ อำนาจจึงได้
                   ประนีประนอมกับอิทธิพลโดยรับเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของอำนาจ อิทธิพลจึงเป็น

                   อุปสรรคแก่อำนาจบ้านเมืองมาแต่โบราณ อิทธิพลคือข้อจำกัดที่อำนาจอันแบ่งแยก
                   มิได้ในสังคมไทยต้องเผชิญตลอดมา ดุลแห่งอำนาจปกครองของไทยจึงถูก
                   “คาน” จาก “อิทธิพล” ได้ (นิธิ เอียวศรีวงศ์, 2547: 140)


                         อิทธิพลที่ปรากฏอยู่ในระบบวัฒนธรรมของไทยมายาวนานโดยเฉพาะ
                   กองทัพและฝ่ายตุลาการ ได้เชื่อมโยงกับดุลแห่งอำนาจใหม่ในช่วงเวลาแห่งความ

                   ขัดแย้ง คือ “ดุลอำนาจการเมืองแบบมวลชน” ภายใต้โครงสร้าง “สังคม
                   วัฒนธรรมแบบเครือข่ายครอบครัว” (family network culture) จนมีการกล่าวว่า
                   การเมืองภาคประชาชนของไทยได้พัฒนาถึงขีดสุด คือ การไม่ยอมรับและปฏิเสธ




                                                                     การประชุมกลุมยอยที่ 2
   240   241   242   243   244   245   246   247   248   249   250