Page 371 - kpi18886
P. 371
363
ชนชั้นสูงทั้งสิ้น การมีฐานะบารมีทางเศรษฐกิจ การเข้าสังคมชั้นสูงในการสมาคม
ต่างๆ การมีอภิสิทธิ์ การได้รับการยอมรับในฐานะที่สูงขึ้นเป็นสิ่งที่ชนชั้นกลาง
ปรารถนา จิตใจของชนชั้นกลางทุกวันนี้มุ่งมั่นทางวัตถุ ความมั่งคั่ง ผลประโยชน์
ของตนเป็นหลัก ดังนั้นการจะคาดหวังให้ชนชั้นกลาง เป็นผู้ถ่วงดุลทางการเมือง
ก็คงจะเป็นไปได้ยากในปัจจุบัน เพราะชนชั้นกลางทั้งหลายก็คือชนชั้นที่พยายาม
ทำตัวเป็นชนชั้นสูงนั่นเอง
เมื่อพิจารณาจากนักปรัชญาการเมืองนามอุโฆษทั้งสามแล้ว จะเห็นได้ว่า
เสรีภาพในรัฐนั้นเป็นสิ่งที่มีอยู่จริงแต่มิใช่เสรีภาพที่สมบูรณ์แบบ (Absolute
freedom) ที่พลเมืองจะอ้างสิทธิในการกระทำใดๆ ก็ได้โดยเสรี เป็นเสรีภาพที่มี
การจำกัดโดยอำนาจรัฐผ่านการตรากฎหมายและข้อบังคับต่างๆ อันมีผลผูกพัน
ต่อพลเมืองของรัฐที่ต้องปฏิบัติ การปฏิเสธกฎหมาย ปฏิเสธอำนาจรัฐ ย่อมทำให้
สังคมมนุษย์ถดถอยไปสู่ความเป็นอนารยะซึ่งเป็นเรื่องที่นักปรัชญาการเมือง
เหล่านี้รับไม่ได้ และถ้าพิจารณาการเมืองการปกครองตั้งแต่ยุคคลาสสิกของ
ตะวันตกมาถึงปัจจุบัน มีรัฐใดหรือช่วงเวลาใดบ้างที่มนุษย์มีเสรีภาพเต็มที่โดยไม่มี
การจำกัดจากรัฐ ซึ่งจะเห็นได้ว่าหามีไม่ ดังนั้นเสรีภาพตามที่ปรากฏใน
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับปัจจุบัน (พ.ศ. 2560) หรือฉบับ
ปีพุทธศักราช 2540 และพุทธศักราช 2550 จึงเป็นเรื่องปกติของรัฐที่จะต้อง
จำกัดเสรีภาพบางประการเพื่อประโยชน์ของส่วนรวม ในบางเรื่อง บางกรณี
โดยการตรากฎหมายที่ต้องมิใช่เป็นการบ่งชี้บังคับกับใครโดยเฉพาะ แต่เป็น
กฎหมายที่บังคับใช้แก่ทุกคนอย่างเท่าเทียม
ข้อสังเกตประการหนึ่งคือความคิดของนักปรัชญาสมัยคลาสสิกทั้งสามท่านนี้
ยังไม่มีท่านใดเลยที่พิจารณาถึงการรับผิดชอบของรัฐในการจำกัดสิทธิเสรีภาพของ
ประชาชน อำนาจของรัฐ การมีอยู่ของรัฐเป็นสิ่งที่ประชาชนต้องยอมรับใน
ความคิดของนักปรัชญาการเมืองทั้งสามท่าน และถ้าพิจารณาถึงปรัชญาการเมือง
ตะวันตกในสมัยต่อมาอย่างสมัยโรมัน สมัยกลาง ก็จะเห็นว่าไม่ได้มีแนวคิดของ
นักปรัชญาการเมืองใดที่เห็นว่ารัฐจะต้องรับผิดชอบอะไรในการจำกัดเสรีภาพของ
ประชาชนหรือต้องชดเชยอะไรให้ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการปฏิบัติของ
รัฐ ยิ่งในสมัยกลางที่อิทธิพลของศาสนจักรกรุงโรมมีอิทธิพลมาก มีแนวคิดการใช้
อำนาจรับผ่านแนวคิดเทวสิทธิ์ ผู้ปกครองมีความชอบธรรมในอำนาจการปกครอง
บทความที่ผานการพิจารณา