Page 368 - kpi18886
P. 368

360




               จะให้พลเมืองอ่านออกเขียนได้แล้ว อริสโตเติลเห็นว่าต้องเน้นจริยศาสตร์ ให้ทุก

               คนเป็นคนดีจะได้รู้จักค้นหาจุดหมายปลายทางของแต่ละคน ซึ่งรัฐจะต้องเป็นผู้
               ให้การศึกษาอย่างเต็มที่แก่ประชาชน การปกครองแบบ Polity นั้นอริสโตเติลบ
               อกว่าดีน้อยกว่าราชาธิปไตยและอภิชนาธิปไตยแต่ระบอบทั้งสองนี้เป็นไปได้ยาก

               ระบอบ Polity นั้นดีกว่าระบอบทรราชย์และคณาธิปไตย รวมทั้งประชาธิปไตยที่
               เป็นระบอบที่สนับสนุนผลประโยชน์ของคนจนแต่กลุ่มเดียว


                     แนวคิดของอริสโตเติลแย้งกับเปลโต ที่ว่าอริสโตเติลเชื่อใน Rule of law
               ในขณะที่เปลโตเชื่อในการปกครอง Rule of man รัฐที่ดีของอริสโตเติลคือรัฐที่มี

               กฎหมายบังคับใช้กับทุกคนอย่างเสมอภาค และให้แต่ละคนได้สิ่งที่ควรจะได้รับ
               รูปแบบการปกครองแบบ Polity นั้น อริสโตเติลเห็นว่าเป็นการปกครองที่สามารถ
               ทำได้ ไม่เกินความสามารถของมนุษย์และไม่เป็นอุดมคติเกินไป ระบอบ
               ประชาธิปไตยในความคิดของอริสโตเติลก็คล้ายกับเปลโตคือเห็นว่าเป็นการ

               ปกครองที่ไม่ดีเท่าใดนัก การปกครองด้วยคนดีเป็นสิ่งที่อริสโตเติลเห็นด้วยแต่เขา
               ไม่คิดเหมือนเปลโตที่เชื่อในราชาปราชญ์ อริสโตเติลเห็นว่าคนแบบนั้นหาได้
               ยากยิ่ง เราอยู่ในโลกที่มีรัฐ มีบ้านเมืองทั้งหลายตั้งอยู่แล้วจะมาเสียเวลาหาราชา

               ปราชญ์เป็นเรื่องป่วยการ สู้การมานั่งคิดปรับรูปแบบการปกครองที่มีอยู่ให้ดีที่สุด
               เท่าที่มนุษย์จะทำได้ไม่ดีกว่าหรือ รัฐบุรุษและผู้ปกครองทั้งหลายจึงควรสร้างรัฐ
               และการปกครองที่ดีที่สุดเท่าที่มนุษย์จะทำได้ในโลกแห่งความเป็นจริงก็พอแล้ว

               ดังนั้น ผู้ปกครองที่ดีจึงควรเป็นผู้ที่มีความสามารถในการใช้เหตุผล รู้จักแยกแยะ
               ผิดชอบชั่วดี มีความเข้าในในกฎหมายธรรมชาติให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นได้
               โดยไม่ต้องรอบุคคลที่สมบูรณ์แบบอย่างราชาปราชญ์ (ดับบลิว.ที. สเตซ, 2514,

               แปลโดย ปรีชา ช้างขวัญยืน, หน้า 178-179)

               บทวิเคราะห์เสรีภาพที่จำกัดในรัฐธรรมนูญ ในมุมมองปรัชญา

               การเมืองยุคคลาสสิก
                     จากแนวคิดของนักปรัชญาการเมืองกรีกนามอุโฆษทั้งสามนี้ จะเห็นได้ว่า

               ทั้งสามท่านต่างเห็นความสำคัญของรัฐ ในฐานะที่เป็นหน่วยทางการเมืองที่สูง
               อยู่เหนือมนุษย์ เป็นธรรมชาติของมนุษย์ที่ต้องมารวมตัวกันแล้วพัฒนารัฐขึ้นมา
               รัฐจึงเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ แต่การปกครองที่ดี ผู้ปกครองที่ดีนั้นหาได้

               เกิดขึ้นมาตามธรรมชาติไม่ มนุษย์ทั้งหลายจึงต้องคิดหารูปแบบการปกครองขึ้นมา



                    บทความที่ผานการพิจารณา
   363   364   365   366   367   368   369   370   371   372   373