Page 370 - kpi18886
P. 370

362




               ที่อาจจะต้องมีการบังคับกะเกณฑ์แก่พลเมืองในบางประการ แน่ละว่าสิทธิเสรีภาพ

               ในเรื่องส่วนบุคคลเป็นสิ่งที่อริสโตเติลไม่ปฏิเสธ แต่การจะอ้างสิทธิเสรีภาพ
               ไร้ขอบเขตถึงขั้นที่ว่าเสรีภาพนั้นอยู่เหนืออำนาจรัฐย่อมเป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้
               ทัศนะคติของอริสโตเติลที่เสนอการปกครองด้วยกฎหมายและมีคณะผู้ปกครอง

               ในระบอบประชาธิปไตยสายกลางหรือ Polity นั้น จึงไม่มีการเลือกตั้งแบบที่ใครก็
               ลงสมัครได้ ผู้ที่จะเป็นผู้แทนในสภาหรือมาดำรงตำแหน่งจะต้องมีความรู้
               ความสามารถที่ผ่านเกณฑ์ตามกฎหมายหรือชนชั้นสูงนั่นเอง แนวคิดของอริสโต

               เติลจึงถูกพวกประชาธิปไตยสมัยใหม่โจมตีว่าเป็นระบอบที่เอื้อต่อชนชั้นสูง เพราะ
               ชนชั้นล่างไม่มีสิทธิลงสมัครในตำแหน่งทางการเมือง แต่อริสโตเติลให้เหตุผลว่า
               ถ้าให้ใครก็ได้ลงสมัครเป็นผู้แทนในสภาหรือเป็นคณะผู้บริหารรัฐ ก็จะได้แต่พวก

               นักตีฝีปาก พวกที่สร้างความเลื่อมใสให้แก่มหาชนทางวาทศิลป์ (Demagogue)
               ไม่มีความสามารถแท้จริง เมื่อมาบริหารก็ทำเพื่อตนเองและพวกพ้องในที่สุดรัฐ
               ก็วุ่นวาย เป็นจลาจล ไร้เสถียรภาพ รัฐที่ไม่สามารถสร้างความสงบได้อย่างยั่งยืน

               จะทำให้มนุษย์บรรลุจุดหมายปลายทางของการเป็นมนุษย์ได้อย่างไร ดังนั้นรัฐ
               ที่สงบ บ้านเมืองมีระเบียบ ทุกคนได้รับการดูแลเท่าเทียมจึงเป็นสิ่งที่อริสโตเติล
               คาดหวังจากการปกครอง การให้ความคาดหวังกับชนชั้นกลางที่อริสโตเติลเห็นว่า

               จะเป็นผู้รักษาระบอบประชาธิปไตยสายกลางไว้ได้นั้นเป็นประเด็นที่น่าขบคิด

                     เพราะอริสโตเติลเชื่อว่าคนชั้นกลางไม่จนเกินไปจนอิจฉาคนรวย ไม่คิด

               แต่เรื่องหาทรัพย์สิน และไม่ร่ำรวยเกินไปจนไม่มีเวลามาสนใจกิจการบ้านเมือง
               เป็นชนชั้นที่ฝากความหวังในการปกครองรัฐได้ ปัญหาคือจะมั่นใจได้อย่างไรว่า
               ชนชั้นกลางจะมีคุณธรรมหนักแน่นพอที่จะไม่หลงเชื่อพวกนักการเมืองที่ดีแต่

               วาทศิลป์ ที่มักจะหว่านล้อมให้ชนชั้นล่างมอบอำนาจให้เขาเป็นผู้ปกครองเพื่อ
               ความหวังในการความมั่งคั่งและเสรีภาพในการแสวงหาผลประโยชน์ต่างๆ ที่คน
               ชั้นล่างปรารถนา ดังนั้น จะมั่นใจได้อย่างไรว่าชนชั้นกลางจะพอใจในสภาพชีวิต

               ที่เป็นอยู่ ไม่ไปเรียกร้องร่วมกับชนชั้นล่างในการขอความเป็นธรรมเรื่องเศรษฐกิจ
               ถ้าอริสโตเติลมีชีวิตในปัจจุบันจะเห็นว่าชนชั้นกลางเป็นกลุ่มชนที่คาดเดาได้ยาก
               ในเรื่องทัศนะคติทางการเมือง บางครั้งก็ตื่นตัวอยากมีส่วนร่วมทางการเมือง

               บางครั้งก็เฉื่อยชาไม่สนใจ แต่ที่ต่างจากความคิดของอริสโตเติล อย่างแน่ชัดคือ
               ชนชั้นกลางในปัจจุบันต่างก็อยากพัฒนาตนเองให้มีฐานะทางเศรษฐกิจดีขึ้นเป็น





                    บทความที่ผานการพิจารณา
   365   366   367   368   369   370   371   372   373   374   375