Page 517 - kpi18886
P. 517

509




                   เข้ามามีส่วนร่วมในฝ่ายนิติบัญญัติที่เป็นแบบสภาเดี่ยว (unicameralism) ตาม

                   ลักษณะของประเทศหลังโซเวียตล่มสลาย ที่หลายประเทศประสบปัญหา
                   ประชาธิปไตย บางประเทศกลับไปสู่เผด็จการ และบางประเทศยังเป็นระบอบผสม
                   (hybrid regime) (McFaul, 2002; Havrylyshyn, 2006) แต่มอลโดวากลับ

                   สามารถสร้างประชาธิไตยจากพหุนิยมทางการเมืองได้ เห็นได้จาก มาตรา 41
                   (4) ที่กล่าวว่า “...พรรคการเมืองและองค์การทางสังคมการเมืองต่างๆ โดย
                   วัตถุประสงค์หรือกิจกรรม หากมีการกระทำที่ต่อต้านหลักพหุนิยมทางการเมือง

                   (political pluralism) หรือหลักการอื่นที่กำกับโดยรัฐอย่างหลักนิติธรรม อำนาจ
                   อธิปไตย ความเป็นอิสระภาพ และบูรณภาพของเขตแดนของสาธารณรัฐ
                   มอลโดวา จะถูกประกาศให้ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ…” (Moldova’s Constitution

                   of 1994 with Amendments through 2006, 2017)

                         ดังนั้น การมีส่วนร่วมทางการเมืองและพหุนิยมทางการเมืองจึงมีความสำคัญ

                   สำหรับมอลโดวา ในปัจจุบัน เช่น ในการประท้วงในเมืองหลวง Chisinau
                   ปี 2015-16 เกี่ยวกับปัญหาคอร์รัปชันและการปะทะกันระหว่างกลุ่มนิยมยุโรป
                   และกลุ่มนิยมรัสเซีย จนสื่อต่างประเทศเรียกว่าเป็นเหตุการณ์ the Moldovan

                   Maidan ล้อเลียนการประท้วง Euromaidan ในยูเครน และความขัดแย้งในการ
                   แก้ไขรัฐธรรมนูญที่ศาลรัฐธรรมนูญของมอลโดวาได้ตัดสินเมื่อวันที่ 4 มีนาคม
                   2016 โดยมีคำสั่งเพิกถอนการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 78 ซึ่งได้มีการใช้มา

                   ตั้งแต่ปี 2000 โดยศาลรัฐธรรมนูญได้ให้กลับไปใช้บทบัญญัติที่มีอยู่แต่เดิมก่อน
                   ทำการแก้ไขนั่นก็คือ การเลือกประธานาธิบดีนั้นต้องมาจากการเลือกของ
                   ประชาชนโดยตรงไม่ใช่มาเลือกกันในรัฐสภาที่ใช้เสียง 3 ใน 5 (หรือ 61 คะแนน

                   จาก 101) ซึ่งศาลอ้างว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญในครั้งนั้นนำมาซึ่งวิกฤติการณ์
                   ทางการเมืองของมอลโดวาจากหลังจากที่ประธานาธิบดีลาออกแล้วได้ให้ประธาน
                   รัฐสภารักษาการแทนเป็นการชั่วคราวจนกว่าจะมีการเลือกตั้งประธานาธิบดี ซึ่งได้

                   ส่งผลให้ตำแหน่งประธานาธิบดีว่างลงถึง 3 ปี (ตั้งแต่ 2009-2012) (Cenusã,
                   2016) แต่ความขัดแย้งดังกล่าวไม่ได้ทำให้มอลโดวาเลือกวิธีการนอกรัฐธรรมนูญ
                   ในการแก้ไขปัญหา หรืออาจกล่าวได้ว่ามอลโดวาได้ยึดนำหลักประชาธิปไตยและ

                   กติกาภายใต้รัฐธรรมนูญเป็นกติกาเดียวกันในสังคม (the only game in town)
                   แล้ว





                                                                 บทความที่ผานการพิจารณา
   512   513   514   515   516   517   518   519   520   521   522