Page 20 - kpi20125
P. 20
จากการศึกษาของ Twisk et al. ส าหรับพฤติกรรมเสี่ยงนั้น พบว่า พฤติกรรมของการขาดการ
ป้องกันนั้นไม่ได้ถูกกระตุ้นโดยกฎจราจร แต่ขึ้นอยู่กับความตระหนักส่วนบุคคลในเรื่องของภัยมากกว่า ซึ่ง
การให้การศึกษาจะช่วยให้เกิดความตระหนักขึ้นได้ โดยคณะผู้วิจัยได้เสนอว่าการป้องกันและกระตุ้นให้เกิด
การลดความบาดเจ็บและอุบัติเหตุในกลุ่มวัยรุ่นด้วยโปรแกรมด้านการศึกษา ควรเน้นการท าให้เกิด
พฤติกรรมเชิงป้องกันมากกว่าเน้นไปที่พฤติกรรมเสี่ยงอย่างเดียว เช่น การใช้หูฟังหรือโทรศัพท์ระหว่างปั่น
จักรยานและเดินถนนอาจไม่ผิดกฎหมายแต่จะช่วยป้องกันและท าให้เกิดความปลอดภัยมากกว่าใช้อุปกรณ์
เหล่านั้นระหว่างปั่นจักรยาน (Twisk et al., 2015, p.54)
เช่นเดียวกันกับ Staton et al ได้ศึกษาถึงการใช้มาตรการสร้างจิตส านึกสาธารณะและการให้
การศึกษา พบว่า ในบราซิลมีการใช้มาตรการรณรงค์ การฝึกอบรมในศูนย์สุขภาพ โรงเรียน มหาวิทยาลัย
และยังมีการท ารณรงค์สาธารณะด้วยสื่อวิดีโอ แผ่นพับ ของที่ระลึก ฯลฯ ผลก็คือ ท าให้การบาดเจ็บจากรถ
ชนลดลง มีอัตราการเสียชีวิตและการบาดเจ็บรุนแรงลดลงถึงร้อยละ 26 และยังลดการส่งเข้ารักษายังห้อง
ICU ได้ถึงร้อยละ 25.6 (Staton et al, 2016, p.10)
2.วิศวกรรม เป็นการด าเนินการทางวิศวกรรมและเทคโนโลยีเพื่อให้เกิดความปลอดภัยทางถนน
ส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้างและโครงสร้างต่าง ๆ ของถนนและทาง และการออกแบบยานพาหนะ เช่น
การออกแบบวงเวียน สะพาน และถนนที่เป้นไปตามหลักวิชาการและแข็งแรงมั่นคง การติดตั้งเครื่องหมาย
ในจุดที่ส าคัญ การท าทางข้ามในจุดที่จ าเป็นเพื่อให้คนใช้ถนนใช้ข้ามได้อย่างปลอดภัย การติดตั้งระบบแสง
สว่างของถนนอย่างทั่วถึง เป็นต้น
3.การบังคับใช้กฎหมาย มีการบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัดกับผู้ที่ท าผิดกฎหมายจราจร รวมทั้ง
ทบทวนกฎหมายที่มีอยู่เดิมไม่ให้ซ้ าซ้อนกัน สอดคล้องกับความเป็นจริง และท าให้เกิดความปลอดภัยมากขึ้น
เช่น การบังคับให้ผู้ขับขี่และผู้โดยสารต้องคาดเข็มขัดนิรภัย การบังคับให้ผู้ขับขี่และผู้ซ้อนท้าย
รถจักรยานยนต์ต้องสวมหมวกนิรภัย การบังคับใช้กฎหมายนอกจากจะบังคับให้ผู้ขับขี่และผู้โดยสารปฏิบัติ
ตามแล้ว ยังสามารถบังคับให้เกิดมาตรฐานยานพาหนะที่ปลอดภัย เช่น บังคับให้รถตู้โดยสารต้องมีเข็มขัด
นิรภัย เป็นต้น
จากการศึกษามาตรการเพื่อลดการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุจราจรของประเทศรายได้น้อยและรายได้
ปานกลางของ Staton et al มีข้อค้นพบที่น่าสนใจหลายประเด็น ยกตัวอย่างผู้ขับขี่มอเตอร์ไซค์ในโคลัมเบีย
ระหว่างปี 1993 – 2001 ที่มีการบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับพฤติกรรมการใช้ถนนที่ปลอดภัยท าให้ลดอัตรา
การเสียชีวิตได้ถึงร้อยละ 12.3-16.4 แต่หลังจากนั้นประสิทธิภาพของกฎหมายก็แย่ลงเนื่องจากไม่มีการ
บังคับใช้ต่อเนื่อง หรือประเทศไทยในปี 1996 มีการใช้กฎหมายบังคับให้สวมใส่หมวกกันน็อคส าหรับผู้ขับขี่
มอเตอร์ไซค์ และได้มีการศึกษาเปรียบเทียบอัตราการเสียชีวิตช่วงปี 1994 – 1997 แม้อัตราการเสียชีวิตจะ
ไม่ได้ลดลงแต่ก็พบว่ามีอัตราการลดลงของการบาดเจ็บที่รุนแรงจากการขับขี่มอเตอร์ไซค์ลดลงถึงร้อยละ
33.5 (Staton et al, 2016, p.9)
อย่างไรก็ดี มาตรการทั้งด้านการศึกษา วิศวกรรม และการบังคับใช้กฎหมายต่างมีข้อดีและข้ออ่อน
ต่างกันไป การเลือกใช้ต้องให้เหมาะสมและผสมผสานกัน จากข้อค้นพบหลักจากการศึกษาของ Staton et
al คือ การบังคับใช้กฎหมายมีผลต่อความส าเร็จและความยั่งยืนในการลดอัตราการเสียชีวิตจากการจราจร
บนถนน มาตรการทางการศึกษาที่ใช้งบประมาณน้อยและมีความซับซ้อนน้อยพบว่ามีประสิทธิภาพไม่มาก
นักต่อการลดการบาดเจ็บและการเสียชีวิต พฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปอันเป็นผลจากมาตรการทาง
การศึกษาค่อนข้างจ ากัดแม้จะก าหนดไว้ในกฎหมายก็ตาม แต่การใช้มาตรการที่สุดแล้วก็ควรจะให้มีความ
หลากหลาย ควรเน้นทั้งให้การศึกษาและบังคับใช้กฎหมายคู่กันไปและประเมินผลการน าไปใช้และโอกาสที่
จะเพิ่มประสิทธิผลของการใช้แต่ละมาตรการพร้อมกันไปด้วย (Staton et al, 2016, p.11)
8