Page 28 - kpi20207
P. 28

การปรึกษาหารือสาธารณะ (Public Consultation) : แนวคิด ประสบการณ์
                                    และข้อเสนอรูปแบบสำาหรับการรับฟังความคิดเห็นตามมาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญ  27

                     กำาหนด นักวิชาการและนักปฏิบัติสายนี้เชื่อว่าการตัดสินใจสาธารณะสามารถ

                     อธิบายได้ด้วยเหตุผลของผู้มีอำานาจในการตัดสินใจ (ผู้นำาทางการเมือง
                     และผู้จัดทำานโยบาย) ผู้มีอำานาจมีเหตุมีผลอยู่เบื้องหลังไม่ว่าจะเป็นเหตุ
                     ทางเศรษฐกิจ (เช่น ความต้องการครอบครองทรัพย์สิน) เหตุผลทางจิตใจ

                     (เช่น ความเชื่อ อุดมการณ์หรือค่านิยม) อย่างไรก็ตาม การตัดสินใจของผู้นำา
                     ทางการเมืองหรือผู้จัดทำานโยบายสาธารณะถูกกำาหนดด้วยบริบทแวดล้อม

                     ไม่ว่าจะเป็นบริบทเชิงสถาบันและบริบทเชิงปัจเจกบุคคล ในความหมายนี้
                     ถึงแม้ว่าปรากฏการณ์ทางการเมืองและสังคมจะเป็นผลมาจากกิจกรรมของ
                     มนุษย์ แต่มนุษย์คือผู้กระทำาการที่มิได้มีความเป็นอิสระ การกระทำาของ

                     มนุษย์ถูกชี้นำาโดยค่านิยม ความเชื่อ ศีลธรรม และกฎเกณฑ์ข้อห้ามต่างๆ
                     อยู่เสมอ (Oppenheimer, 2012: 15-16)


                             นักวิชาการและนักปฏิบัติที่อาศัยทฤษฎีทางเลือกสาธารณะ
                     ในกระบวนการนโยบายสาธารณะเน้นการวิเคราะห์ความต้องการของ
                     ปัจเจกบุคคลและความแตกต่างระหว่าง ตัวแสดงเอกชนและตัวแสดง

                     ภาครัฐโดยมุ่งพิจารณาประเด็นหลัก 2 ประการ ได้แก่ ประการแรก
                     นักทฤษฎีทางเลือกสาธารณะให้ความสำาคัญกับปัจเจกบุคคลในฐานะที่

                     เป็นหน่วยการวิเคราะห์ (unit of analysis) นักทฤษฎีทางเลือกสาธารณะ
                     เชื่อว่าปัจเจกบุคคลเป็นผู้ตัดสินใจ ไม่ใช่กลุ่มหรือองค์กร สิ่งที่ท้าทาย
                     สำาหรับทางเลือกสาธารณะคือปัจเจกบุคคลจะตัดสินใจร่วมกันอย่างไร

                     เมื่อปัจเจกบุคคลมีความต้องการและมีผลประโยชน์ที่แตกต่างกัน แต่ต้อง
                     มาอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่ม ประการที่สอง นักทฤษฎีทางเลือกสาธารณะเชื่อว่า

                     ทางเลือกร่วมหรือทางเลือกสาธารณะ (public choice) กับทางเลือกส่วน
                     บุคคล (private choice) มีความแตกต่างกันเพราะแรงจูงใจ (incentive)
                     และข้อจำากัด (constraints) ซึ่งมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของปัจเจกบุคคล

                     ตัวอย่างเช่น การปรับปรุงบ้านที่อยู่อาศัยของปัจเจกบุคคลขึ้นอยู่กับปัจจัย









         01-142 PublicConsult_ok.indd   27                                     22/6/2562 BE   17:26
   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33