Page 27 - kpi20207
P. 27
26
(1994: 2-3) สรุปว่าคือการพิจารณานักการเมืองและประชาชนผู้มีสิทธิ
เลือกตั้งบนฐานคติที่ว่าคนทั้งสองกลุ่มตัดสินใจหรือกระทำาการโดยมี
จุดมุ่งหมายที่การทำาให้ตัวเองได้รับอรรถประโยชน์สูงสุด
อย่างไรก็ตาม เนื่องจากการตัดสินใจและกระทำาการทางการเมือง
ของมนุษย์คนหนึ่งไม่สามารถเป็นอิสระแยกขาดจากมนุษย์คนอื่นๆ ได้
การทำาความเข้าใจกับแบบแผนพฤติกรรมและการตัดสินใจสาธารณะจำาเป็น
ต้องอธิบายในรูปของผลลัพธ์โดยรวม (aggregative explanation) ของ
การกระทำาที่มีเป้าประสงค์ร่วมกันของปัจเจกบุคคลจำานวนมาก โดยพยายาม
แสวงหาคำาตอบว่าอะไรคือสิ่งที่บุคคลเหล่านั้นต้องการ อะไรคือสิ่งที่พวกเขา
เชื่อ และวิธีการที่พวกเขากระทำาเพื่อนำาไปสู่เป้าประสงค์นั้นมีลักษณะ รูปแบบ
หรือกระบวนการอย่างไร (Elster, 1988: 51-54) การตัดสินใจทางนโยบาย
แบบมีเหตุผลมีความเชื่อพื้นฐานอีกประการหนึ่งว่าพฤติกรรมทางสังคม
แบบรวมหมู่ (aggregate social behavior) หรือผลรวมของพฤติกรรมที่
ปัจเจกบุคคลแต่ละคนแสดงออกหรือตัดสินใจนั้นเป็นไปอย่างมีแบบแผน
ดังนั้น แนวทางการศึกษาต่างๆ ที่นำาทฤษฎีการตัดสินใจทางนโยบายแบบมี
เหตุผลไปประยุกต์ใช้จึงมุ่งอธิบายพฤติกรรมการแสดงออกหรือการตัดสินใจ
ของตัวแสดงทางการเมืองโดยให้ความสนใจกับปัจจัยที่เป็นตัวกำาหนดทาง
เลือก (choice) ของตัวแสดงเหล่านั้น (Oppenheimer, 2012: 14-15)
ทฤษฎีทางเลือกสาธารณะเป็นหนึ่งในแนวทฤษฎีที่อาศัย
การวิเคราะห์ของการตัดสินใจทางนโยบายแบบมีเหตุผลในการอธิบาย
การเมืองและการกำาหนดนโยบายสาธารณะในฐานะที่เป็นการตัดสินใจ
กำาหนดแนวนโยบายที่เป็นทางเลือก นักทฤษฎีทางเลือกสาธารณะมองว่า
กระบวนการกำาหนดนโยบายสาธารณะเป็นการเมืองเรื่องการต่อสู้ในการ
ตัดสินใจเพื่อมีอำานาจเหนือคู่ต่อสู้ทางการเมืองในการกำาหนดทรัพยากร
สาธารณะและการกำาหนดให้คู่ต่อสู้ทางการเมืองตัดสินใจในทิศทางที่ตนเอง
01-142 PublicConsult_ok.indd 26 22/6/2562 BE 17:26