Page 26 - kpi20207
P. 26

การปรึกษาหารือสาธารณะ (Public Consultation) : แนวคิด ประสบการณ์
                                    และข้อเสนอรูปแบบสำาหรับการรับฟังความคิดเห็นตามมาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญ  25

                     และประเด็นตัดสินใจที่แตกต่างกัน ในการตัดสินใจทางนโยบายจึงไม่อาจ

                     ทำาตามแบบใดแบบหนึ่งแบบเดียวได้ ยกตัวอย่างการตัดสินใจแบบมีเหตุผล
                     จะใช้ได้ดีในประเด็นที่มีเป้าหมายชัดเจน มีการวัดในเชิงปริมาณ และมี
                                            4
                     แรงกดดันทางการเมืองน้อย  เป็นต้น

                             การตัดสินใจทางนโยบายแบบมีเหตุผลมีสมมติฐานหลักว่า
                     ปัจเจกบุคคลแต่ละคนจะมีความโอนเอียงต่อทางเลือกที่ตนมีความนิยม

                     ชมชอบมากกว่าทางเลือกอื่นๆ ที่เป็นไปได้อยู่เสมอ (Levin and Milgrom,
                     2004) เดวิด คอล์ลิเออร์ (David Collier) และเดบอราห์ นอร์เดน
                     (Deborah Norden) (1992: 229) มองว่าการวิเคราะห์ตามแนวทางของ

                     การตัดสินใจทางนโยบายแบบมีเหตุผลนั้นคือการเข้าใจพฤติกรรมของมนุษย์
                     โดยมีสมมติฐานว่ามนุษย์จะตัดสินใจเลือกทางเลือกต่างๆ จากการประเมิน

                     ต้นทุนที่ต้องจ่ายเปรียบเทียบกับผลประโยชน์ที่จะได้กลับมา กล่าวอีกนัยหนึ่ง
                     ในทุกการตัดสินใจที่มีทางเลือกมากกว่าหนึ่งทางปัจเจกบุคคล (ซึ่งอาจเป็น
                     นักการเมืองหรือประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง) จะมีการพิจารณาเปรียบเทียบ

                     และสามารถตัดสินใจได้ว่าทางเลือกใดที่ตนชอบมากกว่าทางเลือกอื่นๆ
                     ทุกครั้ง ทั้งนี้ โดยอาศัยข้อมูลทั้งหมดเท่าที่มีเกี่ยวกับทางเลือก โอกาสหรือ

                     ความเป็นไปได้ของสถานการณ์ รวมถึงผลได้-ผลเสียที่จะเกิดขึ้นตามมา
                     ในการตัดสินใจหรือเลือกแนวทางที่ดีที่สุดสำาหรับการกระทำา (หรือไม่กระทำา)
                     อย่างใดอย่างหนึ่งด้วยตนเอง (self-determined best choice of action)

                     (Collier and Norden, 1992: 229) การนำาการตัดสินใจทางนโยบายแบบ
                     มีเหตุผลมาใช้อธิบายการตัดสินใจหรือการกระทำาทางการเมืองจึงมีลักษณะ

                     ดังที่เอียน กรีน (Ian Green) และโดนัลด์ แชปิโร (Donald Shapiro)




                     4
                       ดูเกี่ยวกับทฤษฎีทางเลือกที่เป็นเหตุเป็นผลและทฤษฎีทางเลือกสาธารณะ ใน
                     สติธร ธนานิธิโชติ และธนพันธ์ ไล่ประกอบทรัพย์ (2560)








         01-142 PublicConsult_ok.indd   25                                     22/6/2562 BE   17:26
   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31