Page 30 - kpi20207
P. 30
การปรึกษาหารือสาธารณะ (Public Consultation) : แนวคิด ประสบการณ์
และข้อเสนอรูปแบบสำาหรับการรับฟังความคิดเห็นตามมาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญ 29
ในด้านสวัสดิการสังคมยิ่งสูงขึ้นเท่านั้น ซึ่งหมายความว่าการดำาเนินนโยบาย
เชิงอุดหนุนจะมีมากขึ้นตามไปด้วย
นอกจากนี้ ประชาชนในฐานะผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งมี
ผลประโยชน์หลักคือการเพิ่มรายได้และลดภาระค่าครองชีพ ความต้องการ
หลักของประชาชนเพื่อบรรลุเป้าหมายนี้คือความช่วยเหลือจากภาครัฐ
ดังนั้น ประชาชนมีแนวโน้มที่จะเลือกพรรคการเมืองที่มีแนวนโยบายเพิ่ม
โครงการเพื่อช่วยเหลือประชาชน เช่น สวัสดิการสังคม อุดหนุนในรูปแบบ
ต่างๆ ในขณะเดียวกัน นักการเมืองมีแรงจูงใจทางการเมืองในการเอาชนะ
การเลือกตั้งและแรงกดดันจากการตรวจสอบของประชาชนที่เป็นฐานเสียง
ของตน (Meltzer and Richards, 1981: 914-927) จึงเสนอแนวนโยบาย
ในลักษณะการขยายโครงการสวัสดิการสังคม (และนโยบายอื่นๆ ที่มี
ลักษณะเฉพาะเจาะจงไปยังกลุ่มที่เป็นฐานเสียงของตน) ส่วนข้าราชการมี
แรงจูงใจในการขยายอำานาจหน้าที่และงบประมาณเพิ่มขึ้น จึงมีแนวโน้ม
ที่จะนำานโยบายไปปฏิบัติ การตัดสินใจภายใต้ข้อจำากัดต่างๆ ของบุคคลที่
เกี่ยวข้องเหล่านี้จึงเป็นสิ่งที่นักทฤษฎีทางเลือกสาธารณะมุ่งทำาความเข้าใจ
หนังสือเล่มนี้ให้ความสนใจทำาการศึกษาเกี่ยวกับการรับฟัง
ความเห็นซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการตัดสินใจทางนโยบายและการ
ออกกฎหมายแบบมีส่วนร่วม โดยคำาว่า “แบบมีส่วนร่วม” ในที่นี้นั้นอาจ
มีลักษณะเป็นการมีส่วนร่วมเพื่อปรึกษาหารือกับผู้มีอำานาจตัดสินใจ หรือ
อาจเป็นการร่วมแบ่งปันอำานาจในการตัดสินใจกับผู้เกี่ยวข้องหลายฝ่าย
(ขึ้นอยู่กับว่าใครเข้าสู่กระบวนการตัดสินใจบ้าง) ซึ่งการตัดสินใจจะมีความ
หลากหลายและอาจไม่สอดคล้องกันเลยก็ได้ (Kettl and Fesler, 2009:
286-315) แต่ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบใด การตัดสินใจสาธารณะแบบมีส่วนร่วม
โดยทั่วไปจะมีการนำาผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเข้ามามีส่วนร่วม ซึ่งถือเป็นการ
01-142 PublicConsult_ok.indd 29 22/6/2562 BE 17:26