Page 25 - kpi20207
P. 25
24
แต่ยังเกี่ยวข้องกับความชอบธรรมหรือการยอมรับ ประสิทธิผลในเชิงบริหาร
จัดการ (เช่น ผลลัพธ์ ผลกระทบ และความคุ้มค่า) และความยุติธรรมด้วย
(Fung, 2015: 514-520) ด้วยเหตุนี้ ประชาชนในระบอบประชาธิปไตย
จำาเป็นต้องเข้าไปมีพื้นที่ในนโยบายสาธารณะตั้งแต่ขั้นตอนของการกำาหนด
กรอบแนวคิดและการวางแนวทางในการดำาเนินการผ่านกระบวนการจัดทำา
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับนโยบายสาธารณะนั้นๆ
ในการตัดสินใจทางนโยบาย (policy decision-making) สิ่งสำาคัญ
ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจ คือ ข้อมูลข่าวสาร และการให้คุณค่าของผู้ตัดสินใจ
ทางนโยบาย (Boudreau and Mackenzie, 2014: 48) โดยข้อมูล
ข่าวสารคือความรู้และความรู้คืออำานาจ กล่าวคือ ผู้ที่ไม่มีความเชี่ยวชาญ
มีความรู้น้อย หรือได้รับข้อมูลที่บิดเบือนย่อมนำาไปสู่การตัดสินใจเลือก
ทางเลือกที่ไม่เหมาะสมหรือเป็นไปเพื่อประโยชน์ของผู้บิดเบือนข้อมูลได้
ส่วนการให้คุณค่าของผู้ตัดสินใจทางนโยบายนั้นถือว่าเป็นประเด็นที่มี
ความซับซ้อนเพราะการตัดสินใจขึ้นอยู่กับการตีความ ดังที่เบห์น (Behn)
และเวาเพล (Vaupel) กล่าวว่า “Decisions depend upon judgments
[การตัดสินใจขึ้นอยู่กับการตัดสิน]” จึงทำาให้การตัดสินใจในกระบวนการ
บริหารปกครอง ผู้ตัดสินใจอาจตัดสินใจที่จะสนับสนุนความคิดเห็นของ
ประชาชนส่วนใหญ่ หรือตัดสินใจเพราะได้รับอิทธิพลทางการเมืองจาก
ฝ่ายบริหารในระดับที่สูงกว่าก็ได้ (Behn and Vaupel (1984) quoted
in Kettl and Fesler, 2009: 285)
สำาหรับการอธิบายเกี่ยวกับการตัดสินใจทางนโยบายนั้น
มีการศึกษาและกล่าวถึงไว้หลายแนวทาง เช่น การตัดสินใจทางนโยบายแบบ
มีเหตุผล (rational approach) การตัดสินใจทางนโยบายแบบมีส่วนร่วม
(participative decision making) การตัดสินใจทางนโยบายแบบต่อรอง
เป็นต้น ซึ่งแต่ละแบบมีจุดดีจุดด้อยต่างกันจึงมีความเหมาะสมกับสถานการณ์
01-142 PublicConsult_ok.indd 24 22/6/2562 BE 17:26