Page 86 - kpi20207
P. 86
การปรึกษาหารือสาธารณะ (Public Consultation) : แนวคิด ประสบการณ์
และข้อเสนอรูปแบบสำาหรับการรับฟังความคิดเห็นตามมาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญ 85
(4) การดำาเนินการเพื่อให้การปรึกษาหารือสามารถเข้าถึงได้
(accessibility of consultation exercises)
(5) ภาระของการปรึกษาหารือ (the burden of consultation)
(6) ความรับผิดชอบต่อการดำาเนินกระบวนการปรึกษาหารือ
(responsiveness of consultation exercises)
(7) ศักยภาพในการปรึกษาหารือ (capacity of consult)
(1) การเริ่มต้นกระบวนการปรึกษาหารือ
การปรึกษาหารือกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เป็นทางการ เปิดเผย และ
เป็นลายลักษณ์อักษรเป็นขั้นตอนสำาคัญของกระบวนการนโยบายสาธารณะ
ดังนั้น กระบวนการปรึกษาหารือสาธารณะจะเริ่มต้นได้ก็ต่อเมื่อหน่วยงาน
ที่รับผิดชอบได้ทำาการศึกษาวิเคราะห์ในเบื้องต้นเกี่ยวกับนโยบายหรือ
กฎหมายที่ต้องการริเริ่มจัดทำาแล้วอย่างเพียงพอ เป็นระบบและรอบด้าน
และนำาข้อมูลดังกล่าวเผยแพร่ต่อสาธารณะผ่านช่องทางการสื่อสารที่
เปิดกว้างในการเข้าถึง อย่างไรก็ตาม ข้อกำาหนดดังกล่าวมิได้หมายความว่า
การเก็บรวบรวมความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจะเกิดขึ้นภายหลัง
จากที่หน่วยงานผู้รับผิดชอบมีข้อมูลเกี่ยวกับนโยบายหรือร่างกฎหมาย
ครบถ้วนแล้ว ตรงกันข้าม ในการศึกษาวิเคราะห์เบื้องต้นเพื่อให้ได้ข้อมูล
ที่เพียงพอ เป็นระบบและรอบด้าน สำาหรับการดำาเนินการปรึกษาหารือ
สาธารณะอย่างเป็นทางการนั้น กระบวนการปรึกษาหารือแบบไม่เป็น
ทางการกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและผู้เกี่ยวข้องเป็นขั้นตอนสำาคัญที่ต้องมี
การดำาเนินการอย่างครอบคลุมกว้างขวางก่อนที่การจัดกระบวนการปรึกษา
หารือแบบเป็นทางการจะเริ่มต้นขึ้น
01-142 PublicConsult_ok.indd 85 22/6/2562 BE 17:26