Page 119 - kpi20756
P. 119
การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 21 11
ลดช่องว่างความเหลื่อมล้ำ สร้างคุณภาพประชาธิปไตย
ของแต่ละพรรคเท่ากันจนทำให้ไม่สามารถจัดสรรสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชี
รายชื่อได้ครบ ให้นำค่าเฉลี่ยของแต่ละพรรคการเมืองต่อจำนวนสมาชิกสภาผู้แทน
ราษฎรที่พึงมี 1 คนมาพิจารณา หากพรรคใดมีคะแนนมากกว่าให้พรรคการเมืองนั้น
มีสิทธิได้รับการจัดสรรแบบบัญชีรายชื่อเพิ่มอีก 1 คนและหากมีจำนวนเท่ากันอีกให้ใช้
35
วิธีจับสลาก เมื่อได้จำนวนผู้ได้รับเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อของแต่ละพรรคการเมือง
แล้ว ให้ผู้สมัครตามลำดับหมายเลขในบัญชีรายชื่อสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชี
รายชื่อของพรรคการเมืองนั้นเป็นผู้ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 36
อย่างไรก็ตาม การคำนวณที่มาของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อตาม
รัฐธรรมนูญ 2560 และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภา
ผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2561 นี้ มีความคิดเห็นที่แตกต่างถึงวิธีการคำนวณจำนวนสมาชิกสภา
ผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อกรณีที่ผลลัพธ์ของการคำนวณเกินจำนวนที่สมาชิกสภาผู้แทน
ราษฎรพึงจะได้ (Overhang) โดยวิธีการคำนวณ 2 วิธี ดังนี้
ความเห็นแรก แนวคิดของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) และคณะกรรมการ
ร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) เห็นว่า ควรนำจำนวน ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ “เบื้องต้น” มาปรับลดลง
ตามอัตราส่วนตามมาตรา 128 (5) ก่อน แล้วจึงค่อยจัดให้ ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อให้เต็มตาม
จำนวน ตามมาตรา 128 (4) แนวคิดนี้มองว่าคะแนนทุกคะแนนเสียงเป็นไปตามเจตจำนงของ
ประชาชน ดังนั้น จึงต้องนำคะแนนทุกคะแนนมาคิดคำนวณทั้งหมด เนื่องจากพระราชบัญญัติ
ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2561 (2),(3) ใช้คำว่า
“ส.ส.บัญชีรายชื่อพึงมีเบื้องต้น” การใช้วิธีคิดตามแนวคิดนี้ทำให้ไม่ตัดพรรคการเมืองที่ได้คะแนน
เสียงที่ต่ำกว่าคะแนนเสียงสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของแต่ละพรรคพึงมีเบื้องต้น แนวความคิด
ดังกล่าวจะทำให้มีตัวแทนของพรรคการเมืองในสภาที่เป็นพรรคเล็กๆ เข้ามาเป็นตัวแทนในสภา
มากขึ้น แม้คะแนนเสียงของพรรคการเมืองจะไม่ถึงคะแนนของแต่ละพรรคพึงมีก็ตาม 37
ความเห็นที่สอง เป็นสูตรการคำนวณวิธีคิดแบบนักวิชาการ มีความเห็นว่าในการคำนวณ
ส.ส. บัญชีรายชื่อนั้นให้จัดสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเต็มตามจำนวน ตามพระราชบัญญัติประกอบ
รัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2561 มาตรา 128 (4) ก่อน
ถ้าไม่ครบจำนวน 150 คน จึงค่อยดำเนินการตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย
การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2561 (4) ตอนท้าย และ (6) คือจัดสรรให้พรรค
ละหนึ่งคนตามลำดับเศษจนครบ 150 คน แต่ถ้าเกิน 150 คน ก็ดำเนินการตาม (7) คือลดลง
ตามอัตราส่วนจนครบ 150 คน ซึ่งแนวความคิดนี้ทำให้เห็นว่าพรรคการเมืองใดที่ได้คะแนน
ต่ำกว่าคะแนน ส.ส. พึงมี รวมไปถึงพรรคการเมืองใดที่มีจำนวน ส.ส.มากกว่าหรือเท่ากับจำนวน
35 พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2561 มาตรา 128 (6)
36 พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2561 มาตรา 128 (8)
37 ไทยรัฐออนไลน์. กรธ.ย้ำสูตรคำนวณปาร์ตี้ลิสต์ มีสูตรเดียว อย่าแปรกฎหมายผุดสูตรใหม่. เข้าถึงข้อมูลเมื่อ เอกสารประกอบการสัมมนากลุ่มย่อยที่ 2
วันที่ 29 ตุลาคม 2562 จาก https://www.thairath.co.th/news/politic/1536450