Page 120 - kpi20756
P. 120

120     การประชุมวิชาการ
                    สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 21
            ลดช่องว่างความเหลื่อมล้ำ สร้างคุณภาพประชาธิปไตย


                  ส.ส.ที่แต่ละพรรคพึงมีแล้ว ต้องถูกตัดออกและไม่นำมาคิดสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชี
                  รายชื่อ  เมื่อได้จำนวน ส.ส.บัญชีรายชื่อแล้วให้จัดสรร ส.ส.บัญชีรายชื่อตามจำนวนเต็มก่อน
                        38
                  โดยทำเช่นนี้ทุกพรรคที่มีสิทธิได้รับ ในกรณีที่คำนวณรอบใหม่แล้วมีคะแนนต่ำกว่า 150 ให้จัดสรร
                  ให้กับพรรคการเมืองที่มีเศษจากการคำนวณมากที่สุดได้รับการจัดสรรจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
                  แบบบัญชีรายชื่อเพิ่มอีก 1 คนตามลำดับจนครบจำนวน 150 คน แต่ทั้งนี้ต้องคำนึงด้วยว่า

                  การจัดสรรดังกล่าวจะไม่มีผลให้พรรคไหนได้ ส.ส. รวมเกินจำนวน ส.ส. พึงมี


                       เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบการคำนวณสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามความเห็นทั้งสองแนวคิด
                  แล้ว พบว่า การจัดสรรสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามความเห็นแรกกับความเห็นที่สองจะมีความ
                  แตกต่างกัน กล่าวคือ ตามความเห็นแรกจะนำคะแนนของพรรคการเมืองที่มีไม่ถึงจำนวนสมาชิก

                  สภาผู้แทนราษฎรที่พรรคการเมืองนั้นพึงมีมาคำนวณสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรด้วย ส่งผลทำให้มี
                  พรรคการเมืองเล็กๆ เข้ามาเป็นตัวแทนในสภา แม้คะแนนจะไม่ถึงจำนวน ส.ส. พึงมีก็ตาม ข้อดี

                  ของความเห็นแรกคือ เปิดโอกาสให้พรรคเล็กๆ สามารถเข้ามามีบทบาททางการเมือง ส่วนข้อเสีย
                  คือทำให้พรรคการเมืองพรรคเล็กๆ มีจำนวนมากและยากต่อการรวมตัวกันเพื่อจัดตั้งรัฐบาล หรือ
                  เมื่อจัดตั้งรัฐบาลได้แล้วรัฐบาลนั้นอาจขาดความเป็นเอกภาพในการบริหารประเทศ และที่สำคัญ

                  หากมองในอนาคตจะทำให้มีพรรคการเมืองเป็นจำนวนมากเข้ามาสมัครรับเลือกตั้ง


                       ส่วนแนวคิดที่สองกล่าวคือ ให้นำคะแนนไปจัดสรรให้แก่พรรคการเมืองที่มีจํานวนสมาชิก
                  สภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งต่ำกว่าจํานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่พรรคการเมืองนั้น
                  จะพึงมี แต่ในการจัดสรรนั้นคะแนนต้องไม่มีผลให้พรรคการเมืองใดดังกล่าวมีสมาชิกสภา

                  ผู้แทนราษฎรเกินจํานวนที่จะพึงมี ซึ่งส่งผลให้พรรคการเมืองที่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบ
                  บัญชีรายชื่อไม่เกินสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่พึงมี ซึ่งสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร

                  พุทธศักราช 2560 มาตรา 91 (4) และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง
                  สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2561 มาตรา 128 (5) เมื่อได้จำนวน ส.ส.บัญชีรายชื่อแล้วให้
                  จัดสรร ส.ส.บัญชีรายชื่อตามจำนวนเต็มก่อนโดยทำเช่นนี้ทุกพรรคที่มีสิทธิได้รับ ในกรณีที่คำนวณ

                  รอบใหม่แล้วมีคะแนนต่ำกว่า 150 ให้จัดสรรให้กับพรรคการเมืองที่มีเศษจากการคำนวณ
                  มากที่สุดได้รับการจัดสรรจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อเพิ่มอีก 1 คน

                  ตามลำดับจนครบจำนวน 150 แต่ทั้งนี้ต้องคำนึงด้วยว่าการจัดสรรดังกล่าวจะไม่มีผลให้พรรคไหน
                  ได้ ส.ส. รวมเกินจำนวน ส.ส. พึงมี ข้อดีของความเห็นนี้คือ มีความชัดเจนในการคำนวณถึงที่มา
                  ของการได้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อทำให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นไปตาม

                  เจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ โดยในรัฐสภาจะไม่ทำให้มีพรรคการเมืองเล็กๆ มากจนเกินไป
                  ส่วนข้อเสียของสองความเห็นคือ ทำให้คะแนนของพรรคการเมืองถูกตัดทิ้งไปและไม่นำมาใช้ใน
        เอกสารประกอบการสัมมนากลุ่มย่อยที่ 2      38   ประชาชาติธุรกิจ, “3 สูตรคำนวณ ส.ส. “ปาร์ตีลิสต์” พปชร.กำไร อนค.-เพื่อไทย ขาดทุน” เข้าถึงข้อมูลเมื่อ
                  การคำนวณ อันส่งผลทำให้ไม่มีพรรคการเมืองขนาดเล็กเข้ามามีบทบาทในสภา









                  วันที่ 29 ตุลาคม 2562 จาก  จากhttps://www.prachachat.net/politics/news-321660
   115   116   117   118   119   120   121   122   123   124   125