Page 139 - kpi20756
P. 139
การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 21 1
ลดช่องว่างความเหลื่อมล้ำ สร้างคุณภาพประชาธิปไตย
หลังจากเกิดเหตุการณ์ใน พ.ศ. 2547 แล้ว สมาชิกพรรควาดะห์บางส่วนที่พ่ายแพ้ในการ
เลือกตั้ง พ.ศ. 2548 และได้กระจายตัวออกไปสังกัดพรรคที่แตกต่างกันหลังมีการรัฐประหาร
ใน พ.ศ. 2549 และส่วนใหญ่ก็ยังไม่ประสบความสำเร็จเหมือนการเลือกตั้งก่อน พ.ศ. 2547 ไม่
ว่าจะเป็นในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2550 และ พ.ศ. 2554 หากแต่ใน พ.ศ. 2554 ตัวแทนจากกลุ่ม
วาดะห์ที่ได้กระจายตัวไปสู่พรรคที่ต่างกันไปในปีนั้น เมื่อรวมคะแนนเสียงของพรรคที่แยกกันไป
นั้นก็จะเป็นเสียงส่วนมากที่ทำให้ชนะได้
ในช่วงเวลานี้มิได้มีแต่กลุ่มที่แตกกัน หากแต่มีกลุ่มนักการเมืองในพื้นที่ที่รวมตัวอย่าง
หลวมๆ ภายใต้ชื่อกลุ่มสัจจานุภาพนำโดย นายแพทย์แวมาฮาดี แวดาโอะ ซึ่งเป็นนายแพทย์
ที่โดนควบคุมตัวเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมในข้อหาที่มีความข้องเกี่ยวกับกลุ่มติดอาวุธ แต่ใน
ระหว่างควบคุมตัวมีการซ้อมทรมานเกิดขึ้น ภายหลังจากที่กระบวนการในชั้นศาลยุติและพบว่า
หมอแวมาฮาดีไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้อง ส่งผลให้หมอแวมาฮาดีได้รับเลือกตั้ง ส.ว. ใน พ.ศ. 2549
ด้วยคะแนนเสียงที่ถล่มทลาย ก่อนที่จะลงสมัครเลือกตั้ง ส.ส. และชนะการเลือกตั้งใน พ.ศ. 2550
กลุ่มสัจจานุภาพก่อตั้งขึ้นบนฐานคิดว่าต้องการใช้พื้นที่ทางการเมืองเพื่อรักษาสิทธิของประชาชน
และไม่พอใจกลุ่มวาดะห์ที่ไม่สามารถตอบโจทย์การทำงานของนักการเมืองได้ (แวมาฮาดี
แวดาโอะ, 2562) อย่างไรก็ดีแม้ว่ากลุ่มสัจจานุภาพจะไม่ค่อยเห็นการดำเนินงานที่ชัดเจนเท่าไหร่นัก
หากแต่เป็นอีกหนึ่งพัฒนาการทางการเมืองที่น่าสนใจ
และหากพิจารณาดูแล้วจะพบว่านักการเมืองที่อยู่ในตำแหน่งของช่วงเวลาตั้งแต่ พ.ศ. 2548
เป็นต้นมา จะพบว่าโดยส่วนใหญ่เป็นนักการเมืองหน้าใหม่ของพรรคประชาธิปัตย์ที่เพิ่งชนะ
เลือกตั้งใน พ.ศ. 2548 และได้อยู่ในตำแหน่งต่อไปอีกอย่างน้อยคนละ 2 สมัย นอกเหนือจากนั้น
นักการเมืองหน้าใหม่ยังมาจากคนที่เคยเกี่ยวข้องกับคดีความมั่นคง เช่น กรณีของหมอแวมาฮาดี
อดีต ส.ส.จังหวัดนราธิวาส ตลอดจนจะเห็นนักการเมืองที่ได้รับแต่งตั้งให้เป็น ส.ว. ด้วยความเป็น
ผู้ทรงคุณวุฒิได้เข้ามาสู่เวทีการเลือกตั้งผู้แทนและชนะการเลือกตั้งใน พ.ศ. 2550 อย่างบาบอนิ
มุคตาร์ วาบา ผู้ซึ่งเป็นผู้รู้ทางศาสนาอิสลามที่สำคัญคนหนึ่งในพื้นที่
ในช่วงเวลาที่เกิดสถานการณ์ความไม่สงบเป็นต้นมา จะเห็นการเกิดขึ้นของพรรคประชาธรรม
ซึ่งนับได้ว่าเป็นอีกหนึ่งพัฒนาการที่สำคัญของการเมืองในพื้นที่ พรรคนี้ก่อตั้งใน พ.ศ. 2554
จากบุคคลที่เป็นอดีตกลุ่มขบวนการที่ร่วมมือกับองค์กรที่มีความใกล้ชิดรัฐ ทำให้ในที่สุดแม้จะ
ชูประเด็นของอัตลักษณ์ความเป็นมลายูโดยเน้นพื้นที่ฐานเสียงในสามจังหวัดชายแดนใต้ แต่พรรค
ประชาธรรมก็ไม่ได้รับเสียงที่มากพอให้เข้าสู่สภา นอกจากนั้นแล้วยังอาจเป็นการแบ่งฐานเสียง
ของนักการเมืองสายมลายูนิยมที่มักเลือกนักการเมืองสายวาดะห์ด้วยเช่นกัน พรรคนี้เริ่มต้นด้วย
การที่นายมุคตาร์ กีละ อดีตเลขาธิการพรรคสันติภาพไทย ดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรค แต่ใน
ปลายปีของการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 นายมุคตาร์ กีละ ถูกลอบสังหารเสียชีวิต นายมูฮำมัด หะยี
แวฮามะ จึงดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคแทน ต่อมาใน พ.ศ. 2556 หัวหน้าพรรคลาออก
นายชานนท์ เจะหะมะ ดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคประชาธรรมแทน และเดือนกุมภาพันธ์
พ.ศ. 2557 ได้ส่งตัวแทนลงสมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอีกครั้ง ก่อนที่การเลือกตั้งในครั้ง เอกสารประกอบการสัมมนากลุ่มย่อยที่ 2
ดังกล่าวจะเป็นโมฆะ (อิมรอน ซาเหาะ, 2558) ขณะที่การเลือกตั้งครั้งล่าสุด พรรคประชาธรรม