Page 154 - kpi20756
P. 154

1       การประชุมวิชาการ
                    สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 21
            ลดช่องว่างความเหลื่อมล้ำ สร้างคุณภาพประชาธิปไตย


                           2) โครงสร้างการบริหารจัดการภาครัฐที่มีลักษณะรวมศูนย์ไว้ที่ส่วนกลาง และ
                  หัวเมืองใหญ่ต่างๆ ในภูมิภาค ได้ส่งผลกระทบต่อความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงบริการพื้นฐานของ

                  รัฐในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ระหว่างประชากรในเขตเมืองและเขตชนบท และประชากร
                  ในแต่ละภูมิภาค บริการพื้นฐานของรัฐทั้งบริการด้านการศึกษา การพัฒนาทักษะฝีมือ
                  ด้านสาธารณสุข และโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ส่วนใหญ่มีการกระจุกตัวหนาแน่นในเขต

                  กรุงเทพมหานครและปริมณฑล รวมทั้งเมืองใหญ่ต่างๆ


                           3) ระบบกรรมสิทธิ์ที่ดิน ที่ดินมีความสำคัญสูง เพราะเป็นปัจจัยพื้นฐานในการ
                  ประกอบอาชีพ และความมั่นคงในการดำรงชีวิต ปัญหากรรมสิทธิ์ที่ดินจึงมีความเชื่อมโยงกับ
                  ปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ำในด้านโอกาสทางเศรษฐกิจ ที่ดินยังเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญ

                  ของฐานชีวิตสำหรับทุกคนและมีอยู่อย่างจำกัด ดังนั้นจึงไม่ควรถือว่าที่ดินเป็น “สินค้าเสรี”
                  เหมือนสินค้าทั่วไปในตลาดทุนนิยมเสรี การปล่อยให้รัฐและอำนาจทุนเข้าถือครองที่ดินอย่างไม่

                  จำกัด นำไปสู่การสร้างความไม่เป็นธรรมในสังคมอย่างใหญ่หลวง เช่น มีที่ดินจำนวนมากที่ถูก
                  ปล่อยให้รกร้างว่างเปล่าเพราะรัฐครอบครองโดยไม่ใช้ประโยชน์ หรือนายทุนบางรายถือครองที่ดิน
                  จำนวนมหาศาลเพื่อการเก็งกำไร ทำให้ที่ดินมีราคาแพงจนประชาชนทั่วไปเข้าถึงได้ยาก ขณะที่

                  เกษตรกรและคนยากไร้อีกเป็นจำนวนมากไม่มีที่ดินเป็นของตนเอง หรือมีที่ดินทำกินไม่เพียงพอ
                  เป็นต้น


                           4) ระบบกระบวนการยุติธรรมยังมีข้อจำกัดสำหรับคนจน กล่าวคือ คนจนและ
                  คนชายขอบยังไม่สามารถเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้อย่างทั่วถึง เช่น การเข้าสู่กระบวนการ

                  ยุติธรรมที่มีการดำเนินคดีที่ใช้เวลายาวนาน ทำให้มีต้นทุนค่าใช้จ่ายสูง รวมทั้งการเน้นแบบแผน
                  ขั้นตอนการปฏิบัติของรัฐ และการใช้ภาษาของทางราชการโดยเคร่งครัด ทำให้ยากต่อความเข้าใจ

                  ของประชาชน กระบวนการดังกล่าวยังเป็นการผูกขาดอำนาจไว้ที่รัฐโดยไม่กระจายสู่ชุมชน
                  เป็นต้น


                           5) ระบบการบริหารราชการแผ่นดินที่ขาดประสิทธิภาพ ขาดความโปร่งใส และ
                  การปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ/การทุจริตคอร์รัปชันของเจ้าหน้าที่รัฐ เป็นสาเหตุสำคัญส่วนหนึ่ง

                  ที่ทำให้การดำเนินนโยบายสาธารณะและการจัดบริการสาธารณะเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของ
                  ประชาชนขาดประสิทธิภาพและประสิทธิผล เพราะการจัดสรรงบประมาณบางส่วนมีการทุจริต
                  คอร์รัปชัน งบประมาณที่นำไปใช้จ่ายไม่ตรงกับวัตถุประสงค์และกลุ่มเป้าหมายที่มีความจำเป็น

                  ขณะเดียวกันยังขาดระบบฐานข้อมูลที่ทันสมัย เพื่อเป็นฐานข้อมูลที่บ่งชี้คุณลักษณะของคนจน
                  หรือผู้ด้อยโอกาส จึงทำให้การบริหารจัดการของรัฐเข้าไม่ถึงกลุ่มคนด้อยโอกาส จนทำให้เกิด

        เอกสารประกอบการสัมมนากลุ่มย่อยที่ 2   สำคัญที่ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำอย่างรุนแรงในสังคมไทย และปัญหาเชิงโครงสร้างเช่นนี้เป็น
                                          52
                  ช่องว่างของความเหลื่อมล้ำ
                           โดยสรุปแล้ว จะเห็นได้ว่าปัญหาเชิงโครงสร้างของสังคมไทยดังที่กล่าวมาเป็นต้นเหตุ


                  ตัวกีดกันมิให้คนจำนวนมากสามารถเข้าถึงทรัพยากรได้อย่างเท่าเทียมกัน


                    52
                        สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2557). รายงานการวิเคราะห์สถานการณ์

                  ความยากจนและความเหลื่อมล้ำในประเทศไทย ปี 2555. สืบค้นจาก http://social.nesdb.go.th/.
   149   150   151   152   153   154   155   156   157   158   159