Page 182 - kpi20756
P. 182
182 การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 21
ลดช่องว่างความเหลื่อมล้ำ สร้างคุณภาพประชาธิปไตย
การคาดคะเนดังกล่าวค่อนข้างสอดคล้องกับความเป็นจริงที่เกิดขึ้นในประเทศประชาธิปไตย
ที่ชนชั้นนำสามารถใช้ประโยชน์จากความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจที่ตนเองมีในการเข้าไปมีอิทธิพล
ในกระบวนการทางการเมืองและการกำหนดนโยบายสาธารณะ สิ่งเหล่านี้เห็นได้ตั้งแต่กรณีของ
ประเทศประชาธิปไตยที่ก้าวหน้า ดังเช่นในยุโรปที่มีการศึกษาชี้ให้เห็นว่าชนชั้นนำใช้ประโยชน์จาก
การที่มวลชนมักจะไม่มีความตื่นตัว หรือไม่มีความสนใจในประเด็นทางการเมือง ประกอบกับใช้
ทรัพยากรทางเศรษฐกิจที่ตนเองมีในการเข้าไปมีส่วนร่วมและมีอิทธิพลในการกำหนดนโยบายเพื่อ
รักษาสถานภาพทางเศรษฐกิจของกลุ่มตน (Jensen and Kersbergen, 2017) หรือกรณีของ
สหรัฐอเมริกาที่มีการชี้ให้เห็นว่า กว่าร้อยละ 80 ของการมอบเงินบริจาคทางการเมืองตั้งแต่
200 เหรียญสหรัฐฯขึ้นไปมาจากคนที่มีรายได้สูงที่สุดร้อยละ 10 ของสังคมอเมริกัน ดังนั้น
จึงไม่น่าแปลกใจเลยว่า รัฐบาลมักจะมุ่งตอบสนองในเชิงนโยบายต่อผลประโยชน์ของคนกลุ่มที่มี
รายได้สูงมากกว่าคนกลุ่มอื่นๆ (Gilens, 2005) นอกจากการใช้เงินในการเข้าไปมีส่วนร่วม
ในกระบวนการทางการเมืองแล้ว บรังโค มิลาโนวิช (Branko Milanovic) ได้ตั้งข้อสังเกตว่า
ชนชั้นนำยังสามารถใช้การให้เงินสนับสนุนแก่สถาบันวิจัย และสื่อมวลชน เพื่อพยายามครอบงำ
ทางความคิด และเบี่ยงเบนประเด็นและความสนใจของมวลชนให้ออกไปจากเรื่องความเหลื่อมล้ำ
และประเด็นทางเศรษฐกิจ โดยให้หันไปสนใจในประเด็นอื่นๆ ดังเช่น ภัยจากการก่อการร้าย
การทำแท้ง การควบคุมอาวุธปืน เป็นต้น (Milanovic, 2016)
นัยสำคัญที่สะท้อนจากงานข้างต้นคือ ชนชั้นนำได้เรียนรู้ที่จะใช้ประโยชน์จากโครงสร้างเชิง
สถาบันแบบประชาธิปไตยเพื่อรักษาสถานะทางเศรษฐกิจของตนเอง หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ
รักษาสถานะของความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจของประเทศไว้ การดำเนินการดังกล่าวนอกจาก
จะส่งผลทำให้ปัญหาความเหลื่อมล้ำไม่ได้รับการแก้ไขแล้ว ยังส่งผลตามมาทำให้เกิดปัญหา
ความเหลื่อมล้ำทางการเมืองอีกด้วย ขณะที่คนจนสามารถมีส่วนร่วมผ่านการลงคะแนนเสียง
คนรวยมีช่องทางในการเข้าไปมีส่วนร่วมได้มากกว่า โดยเฉพาะผ่านช่องทางของการใช้ทรัพยากร
ทางการเงินที่มีอยู่อย่างมหาศาลในการส่งอิทธิพลต่อกระบวนการทางการเมือง และการกำหนด
นโยบายสาธารณะ หากสถานการณ์ดังกล่าวดำเนินไปอย่างต่อเนื่องจะส่งผลในการ “กัดกร่อน
ประชาธิปไตย” ได้ เนื่องจากประเด็นเรื่องความเสมอภาคทางการเมืองนับเป็นหัวใจสำคัญของ
ประชาธิปไตย (Shapiro, 2015) จากผลการศึกษาใน 141 ประเทศระหว่างปีค.ศ. 1961-2008
พบสหสัมพันธ์ระหว่างความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจกับความเหลื่อมล้ำทางการเมือง หรือกล่าวอีก
นัยหนึ่งก็คือ การศึกษาเชิงประจักษ์ได้ยืนยันแล้วว่าความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจส่งผลทำให้เกิด
ความเหลื่อมล้ำทางการเมือง (Houle, 2018) หากปล่อยให้สถานการณ์นี้เกิดขึ้นในระยะยาว
โอกาสที่จะส่งผลในทางลบต่อ “ความชอบธรรมทางการเมืองของประชาธิปไตย” ก็จะมีมาก
เนื่องจากพลเมืองจะมองว่าการปกครองนั้นเอื้อประโยชน์เฉพาะต่อคนกลุ่มน้อยเท่านั้น (Diamond,
เอกสารประกอบการสัมมนากลุ่มย่อยที่ 3 ไม่ได้มองว่าความเหลื่อมล้ำจะส่งผลต่อการล่มสลายของประชาธิปไตยเสมอไป
1999) อย่างไรก็ตามแม้ว่างานกลุ่มนี้จะเล็งเห็นถึงภัยคุกคามของปัญหาความเหลื่อมล้ำ แต่มักจะ
ขณะเดียวกัน หากพิจารณาจากบทบาทของมวลชนในการตอบสนองต่อปัญหาความ
เหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ และอิทธิพลของชนชั้นนำที่ครอบงำระบอบการเมืองจนส่งผลให้เกิดปัญหา