Page 204 - kpi20756
P. 204

20


















                  การวัดความเหลื่อมล้ำในสังคมไทย :

                  มุมมองผ่านดัชนีสันติภาพเชิงบวกของโลก

                  และดัชนีสันติสุขในสังคมไทย

                  THAILAND INEQUALITY MEASUREMENT:

                  VIEW FROM  POSITVE PEACE INDEX (PPI)
                  AND THAILAND PEACE INDEX (TPI)



                                                                           ชลัท ประเทืองรัตนา*





                  บทคัดย่อ




                        บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายความเหลื่อมล้ำในสังคมไทย จากมุมมองดัชนี
                  สันติภาพเชิงบวกของโลก (PPI) และ ดัชนีสันติสุขในสังคมไทย (TPI) ข้อค้นพบคือ
                  1) เพื่อเข้าใจความเหลื่อมล้ำอย่างรอบด้านและลึกซึ้ง ควรศึกษาจากหลายมิติทั้งด้านเศรษฐกิจ

                  สังคม การเมือง โดยในการวัดระดับความเหลื่อมล้ำ ควรวัดโดยมีตัวชี้วัดที่หลากหลาย 2) จาก
                  การศึกษาความเหลื่อมล้ำในไทยผ่านงานของดัชนีสันติภาพเชิงบวกของโลก PPI ประเทศไทยได้

                  คะแนนดีในตัวชี้วัดด้านความเหลื่อมล้ำ พิจารณาจากตัวชี้วัดที่ใช้วัดระดับ 6 ตัวชี้วัด เช่น อายุขัย
                  โอกาสในการเลื่อนชั้นทางสังคม รายได้ต่อวัน การเรียนต่อในระดับมัธยมศึกษา การพัฒนา
                  เยาวชน เป็นต้น 3) จากการศึกษาความเหลื่อมล้ำผ่านงานดัชนีสันติสุขในสังคมไทย TPI

                  ตัวชี้วัดด้านความเหลื่อมล้ำในสังคม ประกอบด้วยตัวชี้วัดจำนวน 8 ตัวชี้วัด ได้คะแนนไม่ดี
                  เนื่องจากมีตัวชี้วัดที่ได้คะแนนน้อยคือ มุมมองของประชาชนต่อความเหลื่อมล้ำ การเข้าถึง

                  โครงสร้างพื้นฐาน และการกระจายบุคลากรทางการแพทย์ อย่างไรก็ตาม ตัวชี้วัดด้านความ
                  เหลื่อมล้ำของ TPI มีความแตกต่างจาก PPI ทั้งในด้าน จำนวนตัวชี้วัด หน่วยในการวิเคราะห์
                  วิธีการเก็บข้อมูลและแหล่งข้อมูล ข้อเสนอแนะจากการศึกษา 1)การศึกษาความเหลื่อมล้ำ



                    *  ดร., นักวิชาการผู้ชำนาญการ สำนักสันติวิธีและธรรมาภิบาล สถาบันพระปกเกล้า
   199   200   201   202   203   204   205   206   207   208   209