Page 217 - kpi20756
P. 217
การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 21 217
ลดช่องว่างความเหลื่อมล้ำ สร้างคุณภาพประชาธิปไตย
จำนวนผู้ที่เรียนจบในวุฒิการศึกษาระดับ ปวส./อนุปริญญา/ปริญญาตรี/สูงกว่า
ปริญญาตรี คิดเป็น 21.24 % ของจำนวนประชากรทั้งหมดที่มีอายุมากกว่า 25 ปี เมื่อคำนวณ
ตัวชี้วัดแบบ Z Score อยู่ในระดับตัวชี้วัดสันติภาพระดับที่ 5
4. เปรียบเทียบผลการศึกษาด้านความเหลื่อมล้ำจากดัชนีสันติภาพ
เชิงบวก (PPI) กับดัชนีสันติสุขในสังคมไทย (TPI)
จากคะแนนสันติภาพเชิงบวกของไทยในโลกจากรายงาน PPI เปรียบเทียบ 3 ปี ระหว่าง
ปี ค.ศ. 2016-2018 ปี ค.ศ. 2016 ได้คะแนนอันดับที่ 71 ได้คะแนนรวม 2.987 ปี ค.ศ. 2017
ได้คะแนนอันดับที่ 76 ได้คะแนนรวม 3.1 ปี ค.ศ. 2018 ได้คะแนนอันดับที่ 74 ของโลก
ได้คะแนนรวม 3.07 หากพิจารณาจากตัวชี้วัดหลัก 2 ด้านที่เกี่ยวข้องกับความเหลื่อมล้ำ
เปรียบเทียบเฉพาะในประเทศไทยจากตัวชี้วัด 8 ด้านหลัก จะเห็นได้ว่าตัวชี้วัดที่ได้คะแนนสูงที่สุด
ของประเทศไทยในงานของ PPI คือ 1. การกระจายทรัพยากรที่เป็นธรรม และ 2. ระดับของทุน
ทางมนุษย์ มีรายละเอียดคือ
1. การกระจายทรัพยากรที่เป็นธรรมได้คะแนนดีที่สุดทั้ง 3 ปี ปี ค.ศ. 2016 (1.89)
ปี ค.ศ. 2017 (2.26) อันดับ 1 ปี ค.ศ. 2018 (2.45) อันดับ 1 จาก 8 อันดับ ทั้ง 3 ปี
2. ระดับของทุนทางมนุษย์ ปี ค.ศ. 2016 (2.954) อันดับ 4 ปี ค.ศ. 2017 (2.62 )
อันดับ 2 ปี ค.ศ. 2018 (2.65) อันดับ 2 จาก 8 อันดับ
ตัวชี้วัดและแหล่งข้อมูลที่แตกต่างนำมาสู่คะแนนและอันดับที่แตกต่างในด้านความเหลื่อมล้ำ
มีความแตกต่างทั้งด้านคะแนนและอันดับ จากการวัดระดับสันติภาพในด้านความเหลื่อมล้ำ
จากดัชนี 2 ดัชนี คือ 1. การวัดสันติภาพของไทยในโลก PPI ในด้านความเหลื่อมล้ำ วัดโดย
สถาบันเศรษฐศาสตร์และสันติภาพ และ 2. การวัดสันติภาพของไทยในด้านความเหลื่อมล้ำโดย
สถาบันพระปกเกล้า TPI กล่าวคือคะแนนจากดัชนีสันติภาพเชิงบวกของไทยในด้านความเหลื่อมล้ำ
PPI ได้คะแนนมากที่สุด (2.26คะแนน) อันดับ 1 จาก 8 ตัวชี้วัด มีความเหลื่อมล้ำในสังคมน้อย
และมีการกระจายทรัพยากรที่เป็นธรรม ในขณะที่คะแนนสันติภาพระดับประเทศของไทย
วัดโดยสถาบันพระปกเกล้า ได้คะแนนน้อยที่สุด (2.75 คะแนน) อันดับที่ 4 จาก 4 อันดับ เอกสารประกอบการสัมมนากลุ่มย่อยที่ 4