Page 212 - kpi20756
P. 212
212 การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 21
ลดช่องว่างความเหลื่อมล้ำ สร้างคุณภาพประชาธิปไตย
P4.5 ความเหลื่อมล้ำด้านทรัพย์สินการเงิน (เก็บข้อมูลระดับประเทศ/เก็บข้อมูลจาก
หน่วยงาน)
P4.7 การกระจายบุคลากรทางการแพทย์ในภูมิภาค (เก็บข้อมูลระดับจังหวัด/เก็บข้อมูล
จากหน่วยงาน)
P4.8 การเรียนต่อในระดับมัธยมศึกษา ตอนปลาย/อาชีวะ และปริญญาตรี (เก็บข้อมูล
ระดับจังหวัด/เก็บข้อมูลจากหน่วยงาน)
การเก็บข้อมูลทั้งจากการสำรวจความคิดเห็นและข้อมูลสถิติจากหน่วยงานต่างๆ คือ
1. การสำรวจความคิดเห็นของประชาชน โดยสถาบันพระปกเกล้า ร่วมกับสำนักงานสถิติแห่งชาติ
โดยทำการสัมภาษณ์สมาชิกในครัวเรือนที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกจังหวัด ทั่วประเทศ
เป็นจำนวนทั้งสิ้น 33,420 คน 2. ข้อมูลเชิงสถิติจากหน่วยงานต่างๆ จัดเก็บข้อมูลโดยขอหรือ
ใช้ข้อมูลจากหน่วยงานย้อนหลัง 3 ปี แล้วนำมาหาค่าเฉลี่ยเพื่อตอบแต่ละตัวชี้วัด เช่น สำนักงาน
คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กระทรวง
ยุติธรรม สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
ระดับดัชนีสันติภาพของประเทศไทยสำหรับปี พ.ศ. 2561 มีค่าเท่ากับ 3.23 คะแนน ถือว่า
อยู่ในระดับปานกลาง ในส่วนของคะแนนดัชนีย่อยทั้ง 4 ด้าน ด้านที่มีค่าคะแนนสันติภาพต่ำสุด
คือ ความเหลื่อมล้ำในสังคมน้อยและมีการกระจายทรัพยากรที่เป็นธรรม (2.75 คะแนน) ส่วน
ด้านที่ได้คะแนนมากที่สุด คือ การไม่มีความรุนแรงทางกายภาพ ได้คะแนน (3.60 คะแนน)
1. การไม่มีความรุนแรงทางกายภาพ (3.6 คะแนน) มีคะแนนสันติภาพมากที่สุด
(อันดับ 1)
2. ความมั่นคงและปลอดภัยในสังคม (3.17 คะแนน) (อันดับ 3)
3. การยอมรับความหลากหลาย/การไม่เลือกปฏิบัติ/การเคารพสิทธิมนุษยชน (3.5
คะแนน) (อันดับ 2)
4. มีความเหลื่อมล้ำในสังคมน้อยและมีการกระจายทรัพยากรที่เป็นธรรม (2.75 คะแนน)
มีคะแนนสันติภาพน้อยที่สุด (อันดับ 4)
เกณฑ์แบ่งกลุ่มตามระดับสันติภาพแบ่งได้เป็น 5 กลุ่ม ดังนี้
1. ระดับดัชนีสันติภาพมีค่าต่ำที่สุด คะแนน 1.00-1.80
เอกสารประกอบการสัมมนากลุ่มย่อยที่ 4 3. ระดับดัชนีสันติภาพมีค่ากลาง คะแนน 2.61-3.40
2. ระดับดัชนีสันติภาพมีค่าต่ำ คะแนน 1.81-2.60
4. ระดับดัชนีสันติภาพมีค่าสูง คะแนน 3.41-4.20
5. ระดับดัชนีสันติภาพมีค่าสูงที่สุด คะแนน 4.21-5.00