Page 213 - kpi20756
P. 213
การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 21 21
ลดช่องว่างความเหลื่อมล้ำ สร้างคุณภาพประชาธิปไตย
ผลการวิจัย Thailand Peace Index -TPI เฉพาะในด้านความเหลื่อมล้ำ
ดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่าดัชนีสันติภาพในสังคมไทยเน้นวัดระดับสันติภาพในสังคมไทย โดยมี
องค์ประกอบของกลุ่มตัวชี้วัดด้านสันติภาพจำนวน 4 ด้าน ในส่วนนี้จะนำเสนอเฉพาะในด้าน
ความเหลื่อมล้ำ ดังนี้
P4.1 ตัวชี้วัดมุมมองต่อความเหลื่อมล้ำในสังคม
คำอธิบายตัวชี้วัด
ความเหลื่อมล้ำในสังคม เป็นการใช้คำถามจากการสำรวจความคิดเห็นของประชาชน
โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ “ท่านคิดว่าสังคมไทยมีความเหลื่อมล้ำหรือไม่เท่าเทียมกันในระดับใด”
ระดับ 1-4 (จากคะแนนน้อยไปมาก) ในด้านต่าง ๆ ประกอบด้วย ด้านรายได้และทรัพย์สิน
ด้านการศึกษา ด้านเพศ ด้านสาธารณสุข/การดูแลสุขภาพ ด้านกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม
ด้านการได้รับบริการสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน ด้านการเข้าถึง/ใช้ประโยชน์จากทรัพยากร
ธรรมชาติ ด้านการมีส่วนร่วมทางการเมือง แล้วนำคะแนนมาคิดรวมกัน
จากข้อมูลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชน โดยสถาบันพระปกเกล้าร่วมกับ
สำนักงานสถิติแห่งชาติ สังคมไทยมีความเหลื่อมล้ำหรือไม่เท่าเทียมกันในระดับใด คำนวณแล้ว
พบว่ามีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 1.967 ซึ่งเมื่อจัดระดับตัวชี้วัดสันติภาพอยู่ที่ระดับที่ 2 โดยเรื่องที่มี
ความเหลื่อมล้ำมากที่สุดได้แก่ ด้านรายได้และทรัพย์สิน ด้านการศึกษา และด้านกฎหมายและ
กระบวนการยุติธรรม ตามลำดับ
ผลการสำรวจในประเด็นเกี่ยวกับความเหลื่อมล้ำไม่เท่าเทียมกันในสังคมไทย
พ.ศ. 2561 พบว่าประชาชนร้อยละ 87.1 ระบุว่าค่อนข้างเห็นด้วยถึงเห็นด้วยอย่างยิ่งในประเด็น
มีความเหลื่อมล้ำด้านรายได้และทรัพย์สิน ซึ่งมีสัดส่วนที่สูงกว่าประเด็นอื่นๆ รองลงมาคือ
ด้านการศึกษา (ร้อยละ 77.4) ด้านกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม (ร้อยละ 74.2)
ด้านสาธารณสุข/การดูแลสุขภาพ (ร้อยละ 68.6) การเข้าถึง/ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ
(ร้อยละ 66.2) การมีส่วนร่วมทางการเมือง (ร้อยละ 65.9) สาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน (ร้อยละ
65.7) และด้านเพศ (ร้อยละ 59.3) เอกสารประกอบการสัมมนากลุ่มย่อยที่ 4