Page 216 - kpi20756
P. 216

21      การประชุมวิชาการ
                    สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 21
            ลดช่องว่างความเหลื่อมล้ำ สร้างคุณภาพประชาธิปไตย


                  82,188,883 บัญชี คิดเป็น86.72 % ของบัญชีทั้งหมด เมื่อคำนวณตัวชี้วัดแบบ Z Score จะได้
                  เท่ากับ 0.015 ซึ่งจัดอยู่ในระดับตัวชี้วัดสันติภาพระดับที่ 5


                           ส่วนข้อมูลกลุ่มที่มีเงินฝากเกินกว่า 10 ล้านบาทขึ้นไปโดยเฉลี่ยในปี 2560 มีจำนวน
                  120,496 บัญชี คิดเป็นร้อยละ 0.13 ของบัญชีทั้งหมด


                       P4.6 ตัวชี้วัด ความเหลื่อมล้ำด้านการถือครองที่ดิน


                           คำอธิบายตัวชี้วัด


                           ตัวชี้วัดความเหลื่อมล้ำด้านการถือครองที่ดิน ทางสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการ
                  เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้จัดเก็บข้อมูลในส่วนนี้ ยกตัวอย่างกลุ่มผู้ถือครองที่ดินร้อยละ 10

                  ที่มีการถือครองที่ดินมากที่สุด มีส่วนแบ่งการถือครองที่ดินร้อยละ 61.48 ซึ่งมีสัดส่วนสูงกว่า
                  ผู้ถือครองที่ดินอีกร้อยละ 90 ที่เหลือ ที่มีส่วนแบ่งการถือครองที่ดินเพียงร้อยละ 38.52


                           จากข้อมูลร้อยละของครัวเรือนที่มีบ้านและที่ดินเป็นของตนเอง ปี 2559 ภาพรวม
                  ประเทศคิดเป็น 70.88 % เมื่อคำนวณตัวชี้วัดแบบ Z Score อยู่ในระดับตัวชี้วัดสันติภาพระดับที่ 4


                       P4.7 ตัวชี้วัด การกระจายบุคลากรทางการแพทย์


                           คำอธิบายตัวชี้วัด


                           ตัวชี้วัดการกระจายบุคลากรทางการแพทย์ โดยใช้ข้อมูลจากสำนักงานคณะกรรมการ
                  พัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติได้จัดเก็บข้อมูล

                  ในส่วนนี้ เป็นการพิจารณาจากการกระจายบุคลากรทางการแพทย์ในภูมิภาค

                           จากรายงานข้อมูลบุคลากรด้านสาธารณสุข ปี 2559 จำนวนบุคลากรทั้งหมด

                  ทั้งสังกัดกระทรวงสาธารณสุขและสังกัดสำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข จำนวน 750,752 คน
                  เมื่อคำนวณตัวชี้วัดแบบ Z Score อยู่ในระดับตัวชี้วัดสันติภาพระดับที่ 1


                       P4.8 ตัวชี้วัด การเรียนต่อในระดับมัธยมศึกษา ตอนปลาย/อาชีวะและปริญญาตรี


                           คำอธิบายตัวชี้วัด


                           ตัวชี้วัดการเรียนต่อในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย/อาชีวะและปริญญาตรี ทาง
                  สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้จัดเก็บข้อมูลในส่วนนี้ สะท้อน
        เอกสารประกอบการสัมมนากลุ่มย่อยที่ 4   และปริญญาตรี ทางผู้วิจัยได้ใช้ข้อมูลการจบการศึกษาแทน เนื่องจากอัตราการเรียนต่อระดับ
                  จากอัตราการเข้าเรียนสุทธิ (Net enrolment rate) เป็นอัตราการศึกษาต่อในระดับต่าง ๆ

                           จากข้อมูลโดยเฉลี่ยปี 2560 การเรียนต่อในระดับมัธยมศึกษา ตอนปลาย/อาชีวะ



                  จังหวัดไม่สะท้อนความจริง และบางคนไปเรียนจังหวัดอื่น
   211   212   213   214   215   216   217   218   219   220   221