Page 103 - kpi20858
P. 103
60
เขียนพระระเบียงวัดพระศรีรัตนศาสดารามในยุคหนึ่ง รู้ได้ที่มีหนังสือจดไว้ในนั้นแห่งหนึ่งว่า “คางบ
89
ตูฉนวนด้านตวันตกถึงมูม 3 ห้อง” นอกจากนี้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศ
รานุวัดติวงศ์ยังทรงมีพระราชวินิจฉัยต่อไปว่า สมุดร่างภาพเล่มดังกล่าวนั้นเขียนขึ้นในช่วงต้นรัช
สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ดังความว่า
สมุดเล่มนี้ยังมีความประหลาดในตัวอีกที่ไม่ใช่มีแต่เส้นร่างด้วยดินสอเท่านั้น ยังได้
ลงเส้นฝุ่นไว้หลายตอน และฝีมือเส้นฝุ่นนั้นส าส่อนหลายมือ มีตั้งแต่เด็กยังเขียนไม่เป็นขึ้น
ไปจนช่างฝีมือดีมีชื่อเสียง ได้พิจารณาดูฝีมือพร้อมพระวิทยประจง (จ่าง) สังเกตลงความเห็น
ต้องกันจ าฝีมือได้แน่แก่ใจอยู่ 2 คน คือ ห้องสั่งเมืองเป็นฝีมือพระอาจารย์แดง ห้องทศกรรฐ์ล้ม
เป็นฝีมือพระยาหัตถการบัญชา (กัน)... สังเกตุเห็นไม่มีใครเขียนอย่างของจริง เป็นปราสาท
วิมานทั้งนั้น ตึกฝรั่งไม่มี มีแต่เก๋งจีน เป็นทางส่อให้เห็นได้ว่าผู้ร่างเป็นช่างรุ่นรัชกาลที่ 3 แต่จะ
ร่างส าหรับเขียนเมื่อไรนั้นกะยาก... จะเป็นคราวรัชกาลที่ 3 นั้นไม่ได้... พระอาจารย์แดงถึงเกิด
ในรัชกาลที่ 3 ก็จริง แต่ยังเป็นเด็กท าการยังไม่ได้ และจะเป็นคราวหลังเมื่อสมโภชพระนครร้อย
ปีก็ไม่ได้ ด้วยพระยาหัตถการถึงแก่กรรมแล้ว จะเป็นได้ก็แต่คราวต้นรัชกาลที่ 5 พระยา
หัตถการเป็นผู้เชี่ยวชาญขึ้นชื่อมาแต่รัชกาลที่ 4 อยู่ต่อมาในรัชกาลที่ 5... ส่วนพระอาจารย์แดง
ก็มามีชื่อเสียงขึ้นเมื่อต้นรัชกาลที่ 5... ช่างมีชื่อทั้งสองคนนี้มีโอกาสที่จะท าด้วยกันได้ในคราว
ต้นรัชกาลที่ 5 ถ้าจะเดาอย่างไม่ยับยั้งแล้ว จะต้องว่าสมุดเล่มนี้เป็นของพระยาหัตถการ (กัน)
90
ร่างขึ้นเมื่อเขียนพระระเบียงวัดพระศรีรัตนศาสดารามคราวต้นรัชกาลที่ 5
ดังนั้นการสันนิษฐานเบื้องต้นของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรา
นุวัดติวงศ์ จึงมุ่งไปในทางการร่างขึ้น เพื่อใช้เป็นแบบร่างหรือฝึกมือในการท าจิตรกรรมฝาผนังที่
พระระเบียง ที่วัดพระศรีรัตนศาสดารารามในช่วงต้นรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ส่วนประเด็นเรื่องฝีมือที่ปรากฏนสมุดร่างภาพรามเกียรติ์ว่า มีการผสมผสานทั้งชั้นครูและชั้นเลวนั้น
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงตั้งข้อสันนิษฐานต่อไปอีกว่า
สันนิษฐานว่าสมุดเล่มนี้นายช่างใหญ่ผู้มีหน้าที่ร่างได้ร่างลองดู จะเป็นร่างลองที่วัด
พระศรีรัตนศาสดารามนั้นเองก็ได้ หรือร่างลอง ณ ที่อยู่ แล้วเอามากางดูที่วัดพระศรีรัตน
ศาสดารามนั้นก็ได้ แล้วสมุดนั้นก็ทอดทิ้งอยู่ในเวลาท าการเขียนกัน พวกช่างที่มารับเขียนซึ่ง
คุ้นเคยกับท่านผู้ร่าง เวลาหยุดพักก็คงมานั่งกินน ้าชาพูดจาวิสาสะกันไปพลาง พลิกสมุดที่
ทิ้งอยู่ดูกันไปพลาง แล้วจะมีช่างคนใดคนหนึ่งนึกสนุกขึ้นมาตัดเส้นฝุ่นเล่นขึ้นเผนึกหนึ่ง เลย
89 เรื่องเดียวกัน, 45.
90 เรื่องเดียวกัน, 47-48.