Page 105 - kpi20858
P. 105

62






                                  ในวาระที่จะจัดงานสมโภชพระนครครบรอบ  ๑๕๐  ปีนี้  พระบาทสมเด็จพระปกเกล้า
                            เจ้าอยู่หัว  ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ  ให้ปฏิสังขรณ์วัดพระศรีรัตนศาสดารามทั่วทั้งพระ

                            อาราม  นับเป็นการปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่เช่นเดียวกับการปฏิสังขรณ์ในงานสมโภชพระนคร
                            ๑๐๐ ปี พ.ศ. ๒๔๒๕ ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว การปฏิสังขรณ์

                            พระอารามในรัชกาลที่ ๗ นี้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งคณะกรรมการขึ้นคณะหนึ่ง
                            มีสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้าฯ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต เป็นนายก


                                  การปฏิสังขรณ์วัดพระศรีรัตนศาสดารามนี้  ใช้วิธีหาทุนด าเนินการเช่นเดียวกับการ
                            สร้างปฐมบรมราชานุสรณ์  คือเปิดเรี่ยไรรับเงินบริจาคจากประชาชนทั่วไปมาสมทบทุนใน

                            การปฏิสังขรณ์ กล่าวคือคณะกรรมการได้ประชุมปรึกษากันประมาณเงินที่จะต้องจ่ายทั้งสิ้น

                            เป็นจ านวน  ๖๐๐,๐๐๐  บาท  แล้วน าความขึ้นกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระปกเกล้า
                            เจ้าอยู่หัว  เมื่อทรงทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท  แล้วทรงพระราชศรัทธาอุทิศพระราชทรัพย์

                            ส่วนพระองค์  ๒๐๐,๐๐๐  บาทให้เป็นทุนในการปฏิสังขรณ์  รัฐบาลออกเงินอีกส่วนหนึ่ง
                                                                                           93
                            ๒๐๐,๐๐๐ บาท ส่วนเงินที่เหลือก็ได้เปิดรับจากประชาชนทั่วไปตามแต่ศรัทธา...

                              เงินในการปฏิสังขรณ์วัดพระศรีรัตนศาสดารามนั้นเกิดขึ้นจาก  3  ส่วน  คือ  ส่วนที่เป็นการ

                       บริจาคพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ส่วนหนึ่ง  ส่วนที่เป็นเงินจากรัฐบาลส่วนหนึ่ง  และอีกส่วนหนึ่ง
                       เกิดจากการเรี่ยไรเงินจากประชาชน ดังนั้นสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้าฯ กรมพระนครสวรรค์

                       วรพินิต นายกกรรมการ จึงโปรดให้ออกประกาศ บอกบุญแก่ประชาชนทั่วไปเมื่อวันที่ 16 กันยายน

                       พ.ศ.2472  และกระทรวงพระคลังมหาสมบัติได้ออกประกาศเกี่ยวกับระเบียบการรับเงินเรี่ยไร

                       ตลอดจนสิ่งตอบแทนแก่ผู้บริจาคในวันเดียวกัน

                              สิ่งตอบแทนดังกล่าว  คือการสร้างเหรียญที่ระลึกพระแก้วมรกต  150  ปี  (ภาพที่  2)  สร้าง

                       ด้วยวัสดุ  4  ประเภท  เพื่อตอบแทนแก่ผู้บริจาคเงินในจ านวนต่างๆ  กล่าวคือ  ผู้บริจาคตั้งแต่  100

                       บาท ขึ้นไปจะได้รับพระราชทานเหรียญพระแก้วทองค า ผู้บริจาคตั้งแต่ 20 บาทขึ้นไป พระราชทาน
                       เหรียญพรปรับกรุงะแก้วเงิน  ผู้บริจาคตั้งแต่  5  บาทขึ้นไป  จะได้รับพระราชทานเหรียญพระแก้ว

                       ทองขาว (นิเกิล) ผู้บริจาคตั้งแต่ 1 บาทขึ้นไป จะได้รับพระราชทานเหรียญพระแก้วทองแดง
                                                                                                   94









                           93  กรมศิลปากร, พระราชพิธีฉลองพระนครครบ 150 (กรุงเทพฯ: อัมรินทร์การพิมพ์, 2525), 113.
                           94  มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, เหรียญที่ระลึกพระแก้วมรกต 150 ปี, เข้าถึงเมื่อ 4กันยายน 2562, เข้าถึงได้
                       จาก https://library.stou.ac.th/odi/medal-in-rama7/page_3.html
   100   101   102   103   104   105   106   107   108   109   110