Page 104 - kpi20858
P. 104

61






                            เห็นกันเป็นสนุกต่างเข้าตัดเส้นฝุ่นกันเล่นคนละเผนิกสองเผนิกเป็นแข่งขันกันในที  ครั้นเสร็จ
                            งานแล้ว  ท่านผู้ร่างก็เก็บ  สมุดไปบ้าน  สมุดนั้นทิ้งอยู่ด้วยไม่ได้รักษาช้านานถูกไอฝนชื้นจน

                            เส้นฝุ่นลบเลือนไปก็มี  ทีนี้ก็มีคนเขียนยังไม่ค่อยเป็นซ่อมเส้นที่ลบเลือนด้วยดินสอ  บางแห่ง
                            พยายามลงเส้นฝุ่นก็มี  แต่ไม่ส าเร็จเพราะรู้ว่าตัวท าไปไม่ได้  นอกนั้นยังมีฝีมือเด็กที่เขียนไม่

                            เป็นเลยลงเส้นตามร่างอีกเป็นการแน่  มือเขียนไม่เป็นเหล่านั้น  เป็นลูกหลานของท่านผู้ร่าง
                            ซึ่งสมุดเป็นมรดกตกอยู่กับบ้าน
                                                     91

                              ดังนั้นสมุดร่างภาพรามเกียรติ์เล่มดังกล่าวจึงมีฝีมือหลายระดับ  ทั้งผู้เชี่ยวชาญชั้นบรมครู

                       และผู้ไม่ประสีประสาการเขียน นอกจากนี้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัด

                       ติวงศ์  ทรงกล่าวถึงวิธีเขียนจิตรกรรมฝาผนังที่พระระเบียงวัดพระศรีรัตนศาสดารามแห่งนี้ต่อไปว่า

                                  ในการเขียนเรื่องรามเกียรติ์ที่พระระเบียงวัดพระศรีรัตนศาสดารามนั้น เป็นการที่ต้อง

                            จัดผิดแผกกว่าการเขียนแห่งอื่น เช่น เขียนโบสถ์แห่งใดแห่งหนึ่ง เปรียบว่าเขียนเรื่องทศชาติ
                            เป็นต้น ก็มีมาแต่แม่กองกะว่า ห้องนั้นเขียนเรื่องพระเตมีย์ ห้องนั้นเขียนเรื่องพระชนก แล้ว

                            ช่างผู้ซึ่งรับเขียนห้องนั้น ก็ร่างเองเขียนเองตามชอบใจ จะเลือกเขียนปางไหนในเรื่องนั้น หรือ
                            จะประกอบกันสองปางสามปางก็ได้  แล้วแต่จะมีที่เขียนมากน้อย  เหตุที่ปล่อยให้ท าเช่นนั้น

                            ได้ก็เพราะห้องหนึ่งก็เรื่องหนึ่ง  มีหน้าต่างคั่น  ผนังไม่ต่อกันและเรื่องก็ไม่ต่อกัน  ส่วนเขียน
                            เรื่องรามเกียรติ์ที่พระระเบียงวัดพระศรีรัตนศาสดารามนั้น  จะปล่อยให้ช่างผู้รับเขียนห้อง

                            ร่างเองเขียนตามใจไม่ได้ เพราะเป็นเรื่องเดียวกัน เขียนผนังเดียวยาวนับด้วยร้อยห้อง เรื่อง

                                           92
                            ขนาบคาบเกี่ยวกัน
                              ดังนั้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว  ซึ่งในปี พ.ศ.2475 มีการจัดเฉลิม

                       ฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ครบ  150  ปี  ตลอดจนมีการบูรณปฏิสังขรณ์จิตรกรรมฝาผนังที่พระระเบียง

                       วัดพระศรีรัตนศาสดาราม จึงมีด าริให้พระเทวาภินิมมิต (ฉาย  เทียมศิลปชัย) ช่างเขียนคนส าคัญ
                       เป็นแม่กองควบคุม  และมีจิตรกรเอกอีกหลายท่านเป็นผู้ร่วมเขียนภาพ  อาทิเช่น  หลวงเจนจิตร์ยง

                       ครูทองอยู่ อินมี ครูเลิศ พ่วงพระเดช ครูพิน อินฟ้าแสง สง่า มะยุระและจิตรกรอื่นๆ อีกกว่า 70 ท่าน

                       ในการนี้พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดเกล้าฯ  ให้  สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้า

                       ฟ้าฯ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต เป็นนายกกรรมการ เพื่อควบคุมด าเนินการจัดการปฏิสังขรณ์ให้
                       ลุล่วง พร้อมทั้งเปิดโอกาสให้ประชาชนได้ร่วมกันบริจาคเงินอีกด้วย ดังปรากฏในข้อความต่อไปนี้







                           91  เรื่องเดียวกัน, 46-47.
                           92  เรื่องเดียวกัน, 45.
   99   100   101   102   103   104   105   106   107   108   109