Page 28 - kpi20858
P. 28
15
2.1.1.1 ศิลปะตำมหลักวิชำ
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ถือเป็นช่วงรอยต่อหนึ่งที่ส าคัญ เป็นเวลา
ที่ศิลปะตามขนบนิยมแบบดั้งเดิมของไทยได้ปรับผสาน รับเอาแนวทางศิลปะจากชาติตะวันตกมา
แสดงออก จนก่อให้เกิดรูปแบบใหม่ ทั้งศิลปกรรมไทยแนวตะวันตก และศิลปกรรมแบบตะวันตก
โดยที่แนวทางดังกล่าวมุ่งเน้นแสดงความเหมือนจริง เกี่ยวพันกับการสร้างสรรค์ศิลปะตามหลักวิชา
แต่ความเหมือนจริงดังกล่าวหาใช่เหมือนจริงดังที่ปรากฏ หรือดังที่ตาเห็น ทว่ากลับผสานแทรกเอา
แนวคิดแบบอุดมคติ ซึ่งมีความถึงพร้อมด้วยความงามอันสมบูรณ์แบบเข้าไว้ด้วยกัน
“ศิลปะตามหลักวิชา” (Academic Art) หมายถึง งานศิลปกรรมที่สร้างขึ้นตามทฤษฎี โดย
มีมาตรฐานและหลักเกณฑ์ตามหลักวิชาที่สถาบันหรือสกุลศิลปะนั้นๆ ได้ก าหนดว่าดีงาม ถูกต้อง
11
เป็นที่นิยมและได้ถือเป็นหลักปฏิบัติสืบทอดกันมา จากค ากล่าวข้างต้นแสดงให้เห็นว่าการนิยาม
ความหมายของค าว่า “ศิลปะตามหลักวิชา” ดังกล่าว คือความพยายามในการอธิบายแนวทางของ
การแสดงออกทางศิลปะที่มีความเกี่ยวพันกับปัจจัยด้านค่านิยมที่ถูกก าหนดโดยกลุ่มคน หรือสถาบัน
ในการวางกรอบเกณฑ์ของแนวความคิดและรูปแบบในการแสดงออกของช่างหรือศิลปิน ดังนั้น
ศิลปะตามหลักวิชาจึงสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามความนิยมแห่งยุคสมัย
กระแสความนิยมผลงานศิลปะตามหลักวิชาอย่างตะวันตกในประเทศไทยนั้น ชัดเจนขึ้น
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงพอพระทัยศิลปะที่เน้นความเหมือนจริง
ตามแนวทางของการแสดงออกแบบศิลปะตามหลักวิชา สังเกตได้จากการการซื้องานศิลปะของ
ศิลปินชาวอิตาเลียนมากที่สุด ส่วนผลงานจากศิลปินชาวฝรั่งเศสโดยมากก็ยังนิยมศิลปะตามหลัก
12
วิชา อย่างไรก็ตามเมื่อเข้าสู่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการว่าจ้างประติ
มากรชาวอิตาเลียน คือ ศาสตราจารย์ คอร์ราโด เฟโรจี หรือศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี เข้ามารับ
ราชการต าแหน่งช่างปั้นของกรมศิลปากร ในปี พ.ศ.2466 เป็นผู้สร้างสรรค์อนุสาวรีย์ส าคัญใน
ประเทศไทย โดยมีแนวทางในการสร้างผลงานแบบเหมือนจริง สอดรับกับความต้องการของสถาบัน
กษัตริย์ซึ่งเป็นผู้อุปถัมภ์ นอกจากนี้ต่อมาศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ยังได้ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญทาง
ศิลปะของกรมศิลปากรก่อตั้งโรงเรียนประณีตศิลปกรรมขึ้นในปี พ.ศ.2477 เพื่อผลิตบุคลากรผู้เชี่ยว
ชาญชาวไทย สืบสานต่อยอดงานศิลปะด้านต่างๆ ของกรมศิลปากร จนเกิดเป็นแนวทางใหม่ที่
แตกต่างไปจากแนวไทยประเพณีดั้งเดิมโดยสิ้นเชิง กล่าวได้ว่าช่วงเวลาดังกล่าวเป็นหัวเลี้ยวหัวต่อ
11 ราชบัณฑิตยสถาน, พจนำนุกรมศัพท์ศิลปะ อังกฤษ-ไทย,พิมพ์ครั้งที่ 2 (กรุเทพ: โรงพิมพ์คุรุสภา, 2541), 3.
12 สุธี คุณาวิชยานนท์, จำกสยำมเก่ำสู่ไทยใหม่: ว่ำด้วยควำมพลิกผันของศิลปะจำกประเพณีสู่สมัยใหม่และร่วม
สมัย (กรุงเทพฯ: หอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2545), 24.