Page 29 - kpi20858
P. 29

16






                       ส าคัญในการเปลี่ยนแปลงการศึกษาศิลปะ จากสกุลช่างมาเป็นการสอนอย่างเป็นระบบ และพัฒนา
                       ต่อมาเป็นสถาบันการศึกษาที่มีหลักสูตรเช่นเดียวกันกับสถาบันศิลปะในประเทศตะวันตก  ซึ่งเป็น

                       ปฐมบทของการศึกษาศิลปะตามแบบอย่างศิลปะตามหลักวิชาของตะวันตก  เป็นต้นก าเนิดของการ

                                                         13
                       สร้างสรรค์ศิลปะสมัยใหม่ในประเทศไทย
                              ทั้งนี้ ศาสตราจารย์ศิลป์  พีระศรี ได้กล่าวถึงความหมายของค าว่า “academic”  ไว้ในหนังสือ

                       ชื่อ “ศิลปะสงเคราะห์: พจนานุกรมศัพท์ศิลปะตะวันตก” ดังนี้


                                  ตามหลักวิชา  หมายความถึง  ศิลปกรรมที่ประดิษฐ์ขึ้นตามหลักเกณฑ์ที่ประกอบ
                            ด้วยหลักวิชา กล่าวคือศิลปินคณะหนึ่งๆ หรือหมู่หนึ่งมีความเห็นไปรวมจุดสุดท้ายร่วมกัน

                            ว่าศิลปกรรมที่ผลิตขึ้น จะต้องให้สมบูรณ์พร้อมทุกสิ่งทุกอย่างให้ถึงขนาด ตามหลักเกณฑ์
                            ที่ยกย่องนิยมกัน เพราะฉะนั้นศิลปกรรมอันมีลักษณะที่ท าตามหลักวิชา จึงควรสมบูรณ์

                                                                  14
                            ทั้งองค์ประกอบและวิธีการท า อย่างหาต าหนิได้
                              จากข้อเขียนข้างต้นแสดงให้เห็นถึงความส าคัญของหลักเกณฑ์  ซึ่งได้รับการยกย่องและ

                       ยอมรับโดยคนกลุ่มหนึ่ง  น ามาใช้เป็นกรอบก าหนดแนวทางการแสดงออกที่สมบูรณ์พร้อมตามทัศนะ

                       และคตินิยมของคนกลุ่มดังกล่าว อีกทั้งในข้อเขียนของ ศาสตราจารย์ศิลป์  พีระศรี สะท้อนให้เห็นถึง

                       คตินิยมของท่านที่ยกย่องความสมบูรณ์ทั้งองค์ประกอบและวิธีการท าอย่างหาที่ติมิได้ อย่างไรก็
                       ตามความสมบูรณ์พร้อมทั้งองค์ประกอบและวิธีการท านั้น  มีความหมายครอบคลุมไปถึงการสื่อสาร

                       ความรู้สึกได้อย่างมีความหมายอีกด้วย ดังที่ ศาสตราจารย์ศิลป์  พีระศรีกล่าวว่า


                                  การที่จะด าเนินให้ครบถ้วนตามความมุ่งหมายดังว่านี้ได้  จ าต้องใช้ความพยายาม
                            ความอุตสาหะต่อเนื่องกันไป   จึงจะท าให้องค์ประกอบและวิธีการกระท านั้นถึงความ

                            สมบูรณ์  แต่ครั้นส าเร็จเป็นศิลปกรรมขึ้นมาแล้วสิ  โดยมากมักได้ผลเป็นเพียงผลิตกรรมที่

                            งามเรียบๆ มลืดชืดไปเสีย ด้วยเหตุนี้เมื่อกล่าวว่าศิลปกรรมใดมีลักษณะประกอบด้วย
                            หลักวิชา  ซึ่งปรากฏว่าศิลปกรรมนั้น  แม้อุตส่าห์พยายามกระท าขึ้นอย่างประณีตบรรจง

                            ถูกต้องตามหลักแห่งความสมบูรณ์ดีถึงที่สุดแล้วก็ดี  แต่กลับท าให้เกิดความรู้สึกมลืดชืด









                           13  วิบูลย์ ลี้สุวรรณ, ศิลปะในประเทศไทย: จำกศิลปะโบรำณในประเทศไทย ถึงศิลปะสมัยใหม่ (กรุงเทพฯ: ศูนย์

                       หนังสือลาดพร้าว, 2548), 188.
                           14   ศิลป์   พีระศรี,  พิมพ์ครั้งที่  4,  แปลโดย  พระยาอนุมานราชธน,  ศิลปะสงเครำะห์:  พจนำนุกรมศัพท์ศิลปะ
                       ตะวันตก (กรุงเทพฯ: มูลนิธิศาสตราจารย์ศิลป์  พีระศรีอนุสรณ์, 2553),18.
   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34