Page 33 - kpi20858
P. 33

20






                              หลักการสร้างสรรค์ศิลปะตามหลักวิชา  มีความเกี่ยวเนื่องกับการแสดงออกของจิตรกร
                       และประติมากรในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว  ซึ่งมีการน าเสนอผลงานด้วย

                       แนวทางเหมือนจริงผสานความงามแบบอุดมคติ  ประกอบกับในปลายรัชสมัยมีการก่อตั้งโรงเรียน

                       ประณีตศิลปกรรมดังที่ได้กล่าวถึงแล้วข้างต้น  ซึ่งหลักสูตรที่วางไว้ประกอบด้วยภาคทฤษฎี  และ

                       ภาคปฏิบัติตามมาตรฐานเดียวกันกับสถาบันศิลปะในยุโรป ซึ่งภาคทฤษฎี ได้แก่ วิชา Projection,
                       Light and Shade, Perspective, Landscape, Anatomy, History of Art, Composition and

                       Design,  Critic  Art,  Aesthetic,  Ornament,  Style  of  Art,  Theory  of  Color  ตลอดจน  Thai

                       Architecture และภาคปฏิบัติ แบ่งเป็นสาขา 2 สาขา คือ สาขาประติมากรรม ได้แก่ วิชาการปั้นนูน

                       ต ่า การปั้นนูนสูง และการปั้นลอยตัว ส่วนสาขาจิตรกรรม ได้แก่ วิชาเส้นดินสอ เส้นถ่าน การระบาย
                                          23
                       สีน ้า สีน ้ามัน และสีฝุ่น  ในเรื่องการเรียนการสอนวิชา Projection และ Perspective นั้น ปรีชา เถา
                       ทอง ได้กล่าวอธิบาย ความว่า


                                  “วิชา Projection เป็นวิชาที่ว่าด้วย การเรียนรู้ทฤษฎีในการเขียน Perspective ของ
                            Object ... ทิวทัศน์ที่เป็นอาคารสิ่งก่อสร้าง พื้นที่ว่าง มีต้นไม้ ภูเขา เป็นทฤษฎีเบื้องต้น คือ

                            จะให้เรียนมุมมองของผู้เรียนกับ  Object  ที่จะเขียน...  เริ่มตั้งแต่เขียน  Still  life  กล่อง

                            ลูกบาศก์ เพื่อให้รู้ต าแหน่ง... มีแบบ Bird’s eye view มองมุมลง... Human’s eye view...
                            เป็นคนมองปกติ  ภาพระดับตา  หรือมุมเงย  หรือมุมต ่าลงมา  หมายถึงมีทั้งคนยืน  คนนั่ง

                            และคนนอน... ในกลุ่มที่สามก็คือ Ant’s eye view... ทฤษฎี Projection อาจารย์ชุมพล
                            รัตนชัยวรรณ  ที่เป็นลูกศิษย์อาจารย์ศิลป์ เป็นผู้สอน...  เราเรียนมองวัตถุ  เราเอาไปใช้

                            พัฒนาแบบในการเขียนทิวทัศน์... เป็นการเรียนที่เอาทฤษฎี Projection น าเอามาใช้เขียน

                            ทิวทัศน์ในมุมมองปกติ  เปรียบเทียบกับวิชากายวิภาค  เรียนเพื่อให้รู้สรีระ...  Projection
                            เรียนเพื่อรู้ เอาไปใช้เขียน Landscape


                                  Perspective  จะเรียนในขั้นที่สูงขึ้น  Perspective  มีทั้งเรื่องของแสงของเงา...
                            ทฤษฎีพวกนี้จ าเป็น Projection เรียนจากวัตถุง่ายๆ เหมือนย่อโลกในกะบะ เขียน Still Life

                            มันจะขยายมิติเป็นข้อเท็จจริงมากขึ้นเมื่อเขียนทิวทัศน์จริงๆ การให้คะแนน ตามความถูก
                                                                                                 24
                            ต้อง ดังนั้นทฤษฎี Projection หรือ Perspective มันก็เหมือน Grammar ในภาษาไทย...

                              จากข้อความข้างต้นสามารถสรุปได้ว่า วิชา Projection เป็นวิชาพื้นฐานที่ต่อยอดไปสู่วิชา
                       Perspective ในขั้นที่สูงขึ้น โดยที่ Projection นั้นเรียนรู้วิธีการเขียนภาพวัตถุในสถานที่ ซึ่งอาจเป็น




                           23  วิโชค มุกดามณี และคนอื่นๆ, ศิลปะรัตนโกสินทร์รัชกำลที่ 1-8 (กรุงเทพ: มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2541), 260.
                           24  ปรีชา เถาทอง, สัมภาษณ์, ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ , 22 กรกฎาคม 2562.
   28   29   30   31   32   33   34   35   36   37   38