Page 32 - kpi20858
P. 32

19






                       หัวข้อเชิงอุปมานิทัศน์   ซึ่งสถาบันถือว่าการส่งสารหรือสื่อความหมายนั้นมีความส าคัญอย่างยิ่ง
                       เนื้อหาที่ส่งออกไปควรมีส่วนช่วยยกระดับทางปัญญาและส่งเสริมศีลธรรม  จากแนวคิดนี้น าไปสู่

                       การจัดอันดับคุณค่าของประเภทของผลงาน  (Hierarchy  of  the  Genres)  โดยสถาบันวิจิตรศิลป์

                       แห่งฝรั่งเศส  ได้จัดอันดับเรียงตามหัวข้อที่มีคุณค่าความส าคัญจากมากไปหาน้อย  ได้แก่  การ

                       น าเสนอภาพประวัติศาสตร์  (History  Painting)  ภาพเหมือนบุคคล  (Portrait  art)  ภาพ
                       ชีวิตประจ าวัน (Genre Painting) ภาพทิวทัศน์ (Landscapes) ภาพสัตว์ (Animal Painting) และ

                                                  20
                       ภาพหุ่นนิ่ง (Still Life Painting)  อย่างไรก็ตามผลงานทุกประเภทนี้สามารถสอดแทรกเนื้อหาทาง
                       ศีลธรรมเพื่อยกระดับคุณค่าทางปัญญาได้ทั้งสิ้น  เช่น  ในจิตรกรรมภาพหุ่นนิ่ง  ที่แม้จะถูกจัดอยู่ใน

                       ความส าคัญน้อยที่สุด  ทว่าสามารถน าเสนอสัญลักษณ์เพื่อกล่าวถึงค าสอนทางศาสนาเรื่องความ
                       ไม่จีรัง  โดยเรียกผลงานประเภทนี้ว่า  “จิตรกรรมวานิทัส”  (Vanitas  Painting)  ดังนั้นการสื่อสาร

                       เนื้อหาสาระในลักษณะแบบศิลปะตามวิชา  จึงสะท้อนให้เห็นว่ามีความค านึงถึงสารที่ส่งออกไปยัง

                       การรับรู้ของสังคม  ซึ่งต้องสะท้อนถึงความดี  และเรื่องราวเชิงอุดมคติ  ตามที่สถาบันศิลปะเป็นผู้

                       ก าหนดอีกด้วย   สิ่งเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงความจริงจังของสถาบัน  เกี่ยวกับการก ากับดูแลให้การ
                                   21
                       สื่อสาระของศิลปินสัมพันธ์ไปกับวิธีการแสดงออกอย่างเหมาะสมก่อนออกไปสู่สายตาสาธารณชน

                              ด้านรายละเอียดอื่น ๆ เช่น ภาพวาดประวัติศาสตร์ควรน าเสนอภาพผู้คนสวมใส่เครื่องแต่ง

                       กายที่สอดคล้องกับประวัติศาสตร์  หรือมีการก าหนดมุมมองว่าควรน าเสนอความลึกลวงด้วยหลัก

                       ทัศนียวิทยาเชิงเส้น (Linear perspective) และทัศนียวิทยาแบบย่อส่วน (Foreshortening) เพื่อให้
                       สอดคล้องกับทฤษฎีในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการ  การให้สีควรเป็นไปตามดังที่เป็นในธรรมชาติ  ควร

                                                                                                  22
                       ระบายสีแบบเกลี่ยเรียบ และภายหลังจากสร้างผลงานเสร็จสิ้นควรทาเคลือบเงาบนผิวหน้า  เป็นต้น
                       การเรียนการสอนในสถาบัน ค่อนข้างมีกฎเกณฑ์อันเข้มงวดในการก าหนดแนวทางปฏิบัติ ให้เป็นไป

                       ในรูปแบบศิลปะที่สื่อแสดงภาพแทน (representational art) มากกว่าการเน้นความเป็นนามธรรม
                       มีการบรรจุเอาวิชาการวาดเส้นและกายวิภาค เพื่อฝึกฝนพื้นฐาน โดยมีแบบอย่างจากผลงานศิลปะ

                       ชั้นยอดของบรมครู ทั้งนี้เพื่อสร้างการซึมซับเอาหลักการที่ถูกต้องสมบูรณ์








                           20  Hierarchystructure, Royal Academy Art Hierarchy, accessed Apirl 28, 2019 available from https://
                       www.hierarchystructure.com/royal-academy-art-hierarchy/

                           21   Visual  art  cork,  Academic  Art,  accessed  Apirl  27,  2019,  available  from  http://www.visual-arts-
                       cork.com/history-of-art/academic-art.htm
                           22  Ibid.
   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36   37