Page 31 - kpi20858
P. 31

18






                            ศตวรรษที่ 16 ในฝรั่งเศสช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 17 ในอังกฤษช่วงคริสต์ตวรรษที่ 18 และใน
                            สหรัฐอเมริกาช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19
                                                          18

                              ศิลปะตามหลักวิชา  มุ่งเน้นน าเสนอความถูกต้อง  เหมือนจริง  ค าว่า  "  Academic  art  "
                       บางครั้งอาจใช้ "academicism" หรือ "eclecticism" โดยทั่วไปถูกใช้เพื่ออธิบายถึงรูปแบบจิตรกรรม

                       และประติมากรรมที่แสดงความสมจริงอย่างมีชีวิต    ศิลปะแนวทางนี้มีความเกี่ยวพันกับสถาบัน

                       ศิลปะที่เกิดขึ้นในยุโรป นับตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 16 เป็นต้นมาเริ่มมีสถาบันสอนศิลปะก่อตั้งขึ้นใน
                       อิตาลี สถาบันเหล่านี้เป็นรู้จักกันในชื่อ "Academies" ซึ่งได้รับการสนับสนุนโดยทั่วไปจากสมเด็จพระ

                       สันตะปาปา  กษัตริย์  หรือเจ้าชาย  มีวัตถุประสงค์เพื่อยกระดับสถานะทางสังคมของศิลปิน  แยก

                       ศิลปินออกจากช่างฝีมือ เพื่อให้เป็นอิสระจากการถูกควบคุมโดยสมาคมกิลด์ (guild) อีกทั้งสถาบัน

                       ยังรับหน้าที่ในการเผยแพร่ความรู้ด้านศิลปะแก่ศิลปินรุ่นเยาว์  ซึ่งยึดเอาแนวทางทฤษฎีศิลปะแบบ

                                                                              19
                       คลาสสิกในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการ (Renaissance art) เป็นหลัก  จากการที่สถาบันเป็นผู้ก าหนด
                       แนวทางศิลปะ บางครั้งเรียกว่า “ศิลปะสถาบัน" ภายหลังมีการก่อตั้งสถาบันวิจิตรศิลป์ แห่งฝรั่งเศส

                       (The French Academy of Fine Arts)  หรือที่รู้จักในนาม Academie des Beaux-Arts ซึ่งเป็น

                       สถาบันที่ทรงอิทธิพลในยุโรป มีหน้าที่ในการสร้างชุดสุนทรียภาพ และก าหนดมาตรฐานสร้างกรอบ

                       เกณฑ์ในการแสดงออกของเหล่าศิลปิน  ซึ่งมีผลอย่างยิ่งต่อการได้รับความยอมรับในวงการศิลปะ

                       และสังคมอีกด้วย  ทั้งนี้การก าหนดแนวทางนี้มีความใกล้ชิดอย่างมากกับหลักการสร้างสรรค์ทาง
                       ศิลปะแบบลัทธินีโอคลาสสิกอิสม์  (Neo-Classicism)  ซึ่งให้ความส าคัญกับองค์ประกอบทาง

                       ปัญญา  โดยเชื่อว่าภาพเขียนที่ดีควรส่งข้อความอย่างเหมาะสม  อีกทั้งแนวทางเช่นนี้ต้องมีรูปแบบ

                       และเทคนิคที่สะท้อนถึงความสมบูรณ์แบบ  ตลอดจนมีความเกี่ยวพันกับศิลปะลัทธิโรแมนติกอิสม์

                       (Romanticism) ซึ่งเป็นศิลปะที่เกิดร่วมสมัยอีกด้วย

                              ด้านแบบอย่างในการแสดงออกของศิลปะตามหลักวิชา  ให้ความส าคัญกับความเป็นเหตุ

                       เป็นผล (Rationality) เน้นการแสดงออกทางปัญญา (Intellectual) อย่างไรก็ดีแม้ว่างานศิลปะตาม

                       หลักวิชาจะเน้นความเป็นเหตุเป็นผล  ทว่ามีการแนะน าว่าไม่ควรน าเสนอความสมจริงมากจน
                       เกินไป โดยก าหนดให้ศิลปินน าเสนอผลงานด้วยรูปแบบเชิงอุดมคติ เท่ากับเป็นการต่อต้านผลงาน

                       ที่แสดงความจริงแบบธรรมชาตินิยม  (Naturalism)  นอกจากนี้ยังให้ความส าคัญกับขนาดของ

                       ผลงาน  รวมทั้งได้ก าหนดทิศทางของหัวข้อในการสร้างสรรค์  โดยอ้างอิงไปถึงยุคคลาสสิก  หรือ



                           18  วิรุณ ตั้งเจริญ,ศิลปะสมัยใหม่ในประเทศไทย (กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์, 2534), 2.
                           19  Visual art cork, Academic Art, accessed April 27, 2019, available from http://www.visual-artscork
                       .com/history-of-art/academic-art.htm
   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36