Page 34 - kpi20858
P. 34

21






                       หุ่นนิ่ง เป็นการฉายภาพมุมมองในแบบย่อโลก ลวงตาให้เกิดภาพแบบ  3 มิติลงบนผืนภาพ 2 มิติ
                       เช่นเดียวกันกับวิชา  Perspective  หากแต่วิชา  Perspective  นี้มีองค์ประกอบของวัตถุที่ต้อง

                       ค านึงถึงเพิ่มขึ้น  เพราะมีการเขียนภาพนอกสถานที่  อย่างไรก็ตาม  ทั้งสองรายวิชาดังกล่าวต่างต้อง

                       น าเสนอความถูกต้องตามหลักทฤษฎีอย่างเคร่งครัด ซึ่งปรีชา เถาทอง ได้กล่าวเปรียบเทียบกับวิชา

                       กายวิภาค  ที่เป็นวิชาพื้นฐานให้ผู้เรียนฝึกฝน  เพื่อพัฒนาต่อยอดไปสู่การแสดงออกทางศิลปะได้
                       อย่างลึกซึ้งเช่นกัน


                              จากรายวิชาที่ศาสตราจารย์ศิลป์  พีระศรีได้วางรากฐานไว้ข้างต้นนั้น สะท้อนให้เห็นถึงการ

                       ให้ความส าคัญต่อการศึกษาแบบศิลปะหลักตามวิชาตะวันตก  ทั้งนี้สุดารา  สุจฉายา  ได้กล่าวว่า
                       เมื่อแรกตั้งโรงเรียนประณีตศิลปกรรม  ในปี  พ.ศ.2476    กรมศิลปากรได้เชิญผู้มีความรู้และความ

                       เชี่ยวชาญทางศิลปะมาเป็นผู้วางหลักสูตร  และร่วมสอน  โดยมีรายนามคณะครูผู้สอนในครั้งแรก

                       ดังนี้


                                  ๑. ศาสตราจารย์ศิลป์  พีระศรี (โคราโด เฟโรซี) สอนประติมากรรมและเทคนิคการ
                            ช่างแบบยุโรป เช่น ทัศนียวิทยา กายวิภาควิทยา ทฤษฎีสี ทฤษฎีการวิพากษ์วิจารณ์ และ

                            สุนทรียศาสตร์
                                  ๒.    พระสาโรชรัตนนิมมาน   หัวหน้ากองสถาปัตยกรรมสมัยนั้น   สอนวิชา

                            สถาปัตยกรรม และประวัติศาสตร์ศิลปะ
                                  ๓. หลวงวิจิตรวาทาการ อธิบดีกรมศิลปากรขณะนั้น สอนประวัติศาสตร์ไทย

                                  ๔. พระเทวาภินิมมิต สอนศิลปะไทยและ ลายไทย

                                  ๕. พระพรหมพิจิตร สอนสถาปัตยกรรมไทย
                                  ๖. พระสรลักษณ์ลิขิต สอนจิตรกรรม

                                  ๗. หลวงเทพรักษ์เลขา สอนท าฉากละคร
                                                                  25
                              วิชาความรู้ข้างต้น  ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะของศิลปิน

                       ไทยอย่างชัดเจน  อย่างไรก็ตามการน าเอาแบบอย่างทฤษฎีจากศิลปะตะวันตกเข้ามาใช้สร้างสรรค์

                       ผลงานของศิลปินหรือช่างไทยนั้นได้ถูกด าเนินการมาก่อนหน้าจะมีการเรียนการสอนอย่างเป็น

                       ระบบแล้ว  การเผยแพร่วิชาความรู้จากสถาบันศิลปะแห่งนี้เป็นเพียงปัจจัยหนึ่ง  ที่ท าให้สังคมไทย

                       ตื่นตัวกับกระแสศิลปะตามหลักวิชาในวงกว้างมากยิ่งขึ้น








                           25  สุดารา สุจฉายา, “พระสรลักษณ์ลิขิต,” ใน เปิ ดกรุศิลปิ น (กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2532), 182-183.
   29   30   31   32   33   34   35   36   37   38   39