Page 38 - kpi20858
P. 38

25






                       จริงจังและน าไปสู่การก าหนดสร้างทฤษฎีทางทัศนียวิทยาอย่างเป็นระบบ  ซึ่งปรากฏอย่างชัดเจน
                       ในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการ โดยศิลปินชาวอิตาลี


                              ทัศนียวิทยา  (Perspective)  หมายถึง  การสร้างภาพลวงตาแบบ  3 มิติ  บนพื้นระนาบ  2
                         32
                       มิติ   กล่าวคือเป็นการสร้างภาพลวงให้รู้สึกถึงความสมจริงดังที่ตามองเห็น  ประกอบด้วย  ระยะ
                       หน้า (Fore Ground)  ระยะกลาง (Middle Ground) และระยะหลัง (Back Ground) โดยทั่วไป

                       ทัศนียวิทยาสามารถแบ่งตามลักษณะของการแสดงออก ได้ 2 ลักษณะ คือ ทัศนียวิทยาเชิงเส้น

                       (Linear perspective)  และทัศนียวิทยาแบบบรรยากาศ (Aerial perspective) ซึ่งการสร้างงาน

                       ศิลปะตามหลักวิชานั้นมุ่งให้ความส าคัญกับทัศนียวิทยาเชิงเส้นเป็นหลัก


                              2.1.1.1.2.1 ทัศนียวิทยำเชิงเส้น

                              ในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการ  ยุคที่ศิลปินเป็นผู้แสวงหาความรู้จากมรดกทางวัฒนธรรมอัน

                       ยิ่งใหญ่ของศิลปะคลาสสิก  ทว่าไม่ได้เป็นเพียงแค่การสืบสานแนวทางและปฏิบัติตามแต่เพียงเท่านั้น

                       ยังมุ่งหวังให้เกิดการเข้าถึงธรรมชาติอย่างสมเหตุผลมากกว่าเมื่อครั้งบรรพบุรุษได้เคยบุกเบิกไว้  ซึ่ง

                       หนึ่งในคุณสมบัติพิเศษของผลงานศิลปะในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการคือ  การน าเสนอภาพด้วยทัศนีย
                                 33
                       วิทยาเชิงเส้น

                              การเขียนทัศนียภาพได้รับการพัฒนาอย่างเป็นระบบโดย ฟิลิปโป บรูเนลเลสกี (Filippo

                       Brunelleschi) และต่อมาโดยอัลแบร์ตี (Leon Battista Alberti) การเขียนทัศนียภาพเป็นเครื่องมือ
                       ทางคณิตศาสตร์ซึ่งเปลี่ยนภาพสามมิติที่มองเห็นจากวัตถุจริงลงบนระนาบเพียงสองมิติ  เส้นสาย

                       ในภาพทั้งหมดจะวิ่งรวมกันไปที่  จุดอันตรธาน  (vanishing  point)  ท าให้แลเห็นภาพเป็นสามมิติ

                                        34
                       เสมือนความเป็นจริง
                              ทัศนียวิทยาเชิงเส้น  เป็นการสร้างภาพลวงตาโดยอาศัยระบบการคิดเชิงคณิตศาสตร์  เพื่อ

                       ก่อให้เกิดผลทางการเห็นแบบลึกลวงในผลงาน โดยมีเส้นเป็นองค์ประกอบหลัก ดังนั้นจึงมีความ

                       จ าเป็นต้องเข้าใจลักษณะของเส้นต่างๆ ดังนี้




                           32  Susie Hodge, 50 art ideas you really need to know (London: Quercus Publishing, 2011), 31.
                           33   USEUM,  The  Birth  of  Perspective,  accessed  May  24,  2019  available  from
                       https://useum.org/Renaissance

                       /Perspective
                           34  สันติรักษ์ ประเสริฐสุข, สุนทรียศำสตร์และทฤษฎีสถำปัตยกรรมตะวันตก:  จำกคลำสิกถึงดีคอนสตรัคชัน,
                       47-48.
   33   34   35   36   37   38   39   40   41   42   43