Page 37 - kpi20858
P. 37

24






                       มนุษย์นั้นมีการใช้ศีรษะเป็นเกณฑ์มาตรฐาน  เพื่อใช้เปรียบเทียบกับส่วนอื่นๆ  ของร่างกาย  โดยที่
                       สัดส่วนมนุษย์แบบอุดมคติมักมี 8 ส่วน ในขณะที่สัดส่วนของมนุษย์โดยปกติทั่วไปนั้นมักอยู่ในราว

                       7 ส่วนครึ่ง


                              ในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการ  การวาดภาพเหมือนบุคคลส าคัญทางศาสนา  และชนชั้นน า
                       ของสังคม  ได้รับการผลิตออกมาอย่างต่อเนื่องตลอดช่วงคริสต์ศตวรรษที่  15-16  เป็นผลจากนัก

                       ประพันธ์สมัยดังกล่าวมักมุ่งความสนใจไปที่ชีวประวัติของผู้มีชื่อเสียง  นอกจากนี้ยังมีเหรียญตรา

                       และรูปปั้นหินอ่อนครึ่งตัว  (bust)  ของจักรพรรดิโรมันและพลเมืองจากยุคโบราณหลงเหลือให้ผู้

                       อุปถัมภ์  นักสะสม  และศิลปินสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการได้ศึกษา  ชื่นชม  และน าไปใช้เป็นต้นแบบ
                                           31
                       ส าหรับงานว่าจ้างใหม่ๆ  โดยทั่วไปศิลปินไม่ได้แค่พยายามลอกเลียนธรรมชาติและหวนกลับไปหา
                       ยุคคลาสสิกเท่านั้น ทว่าศิลปินต่างต้องการท าให้เหนือกว่า


                              แนวคิดเรื่องร่างกายมนุษย์แบบคลาสสิกนี้ ปรากฏในงานศิลปกรรมเรื่อยมา โดยเฉพาะใน

                       สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการ  และลัทธินีโอคลาสสิก  ซึ่งส่งอิทธิพลแก่ศิลปะตามหลักวิชาที่ควบคุมการ
                       สร้างสรรค์ของศิลปินจากสถาบัน เรียกได้ว่าคือศิลปะกระแสหลักที่ครอบง ายุโรปมาอย่างยาวนาน



                              2.1.1.1.2 ทัศนียวิทยำ

                              จิตรกรรมและประติมากรรมแบบศิลปะตามหลักวิชานั้นอ้างอิงถึงความเป็นเหตุผล  ตั้งอยู่

                       บนพื้นฐานของความถูกต้อง  ลัทธิธรรมชาตินิยมที่ได้รับการยอมรับในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการ  ไม่
                       เพียงกระตุ้นเร้าก่อให้เกิดการศึกษารูปทรงเชิงกายวิภาคมนุษย์ที่สมบูรณ์และงดงาม  แต่ยังก่อ

                       ให้เกิดการถ่ายทอดมุมมอง  และองค์ประกอบต่างๆ  อย่างสมจริงของสิ่งแวดล้อมทางกายภาพอีก

                       ด้วย ทั้งนี้ความถูกต้องทั้งกายวิภาคมนุษย์และการน าเสนอมุมมองทางกายภาพของสิ่งแวดล้อมเป็น

                       ส่วนส่งเสริม  เพิ่มนัยแห่งการสื่อสารเพื่อบอกเล่าถึงสถานที่  หรือเหตุการณ์ที่ศิลปินต้องการแสดง
                       ออกอย่างเป็นเหตุเป็นผลได้อีกประการหนึ่งด้วย


                              การศึกษาถึงมุมมองในระยะต่างๆ  มีความส าคัญอย่างมากต่อการสร้างสรรค์งานศิลปะ

                       แรกเริ่มนั้นเกิดจากการที่ศิลปินเฝ้าสังเกตธรรมชาติ  และถ่ายทอดสิ่งที่เห็นบนพื้นฐานของการท า

                       ความเข้าใจผ่านโลกทัศน์ของศิลปินชาวกรีกในยุคโบราณ  เรื่อยมาจนกลายเป็นการศึกษาอย่าง







                           31 เจอรัลดีน เอ. จอห์นสัน แปลโดย จนัญญา เตรียมอนุรักษ์, ศิลปะเรอเนซองส์: ควำมรู้ฉบับพกพำ (กรุงเทพฯ:
                       open world, 2557), 123.
   32   33   34   35   36   37   38   39   40   41   42