Page 39 - kpi20858
P. 39
26
เส้นระดับสายตา (Horizontal Line) หรือเรียกว่า เส้น Eye Level ซึ่งเป็นเส้นแบ่งระหว่าง
ขอบฟ้ากับพื้นดินออกจากกัน เส้นระดับสายตามีความส าคัญอย่างมากในการก าหนดมุมมองของ
วัตถุในภาพ โดยทั่วไปแบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ คือ
เส้นระดับตาปกติ หรือระดับสายตา (Man’s-Eye View) หมายถึงการมองจาก
ระดับสายตาปกติ เส้นขอบฟ้าจะอยู่ตรงกลางระดับสายตาพอดี การมองระดับนี้จะมอง
เห็นวัตถุระหว่างกึ่งกลาง เหมือนรูปทรงที่ไม่มีความลึกหรือหนา ลักษณะคล้ายรูปร่าง
เส้นระดับสายตาต ่า หรือแบบตานกมอง (Bird’s-Eye View) หมายถึง การมองจาก
ที่สูงลงมา หรือระดับการมองวัตถุที่อยู่ต ่ากว่าระดับการมองปกติ ในลักษณะก้มหน้า ท า
ให้ภาพวัตถุที่มองเห็นอยู่ต ่ากว่าระดับสายตา จะเห็นส่วนของวัตถุเพียงด้านบนเท่านั้น
ระดับสายตาสูง หรือแบบตามดมอง (Ant’s Eye View) หมายถึง การมองจาก
ระดับต ่าขึ้นมาหรือเป็นการมองวัตถุที่อยู่ระดับสูงกว่าระดับการมองเห็นปกติ ในลักษณะ
เงยหน้า ท าให้ภาพวัตถุที่มองเห็นอยู่สูงกว่าระดับสายตา จะเห็นส่วนใต้ของวัตถุที่มอง
35
เห็นเพียงด้านเดียว
เส้นระดับสายตามีความส าคัญในการก าหนดระดับมุมมองที่มีต่อวัตถุ หรือสิ่งหนึ่งสิ่งใด
ภายในผลงาน เส้นระดับสายตามีความเกี่ยวพันกับจุดรวมสายตา (Vanishing Point) หรือจุดจบ
หรือจุดอันตรธาน เป็นจุดที่ท าให้เกิดภาพที่ไกลออกไปจนลับสายตา โดยที่ประเภทของทัศนียวิทยา
เชิงเส้นนั้นสามารถแบ่งประเภทตามการก าหนดจุดรวมสายตา กล่าวคือ หากมีจุดรวมสายตา 1 จุด
เรียก One Point of Perspective หากเป็น 2 จุด เรียก Two Points of Perspective และ 3 จุด เรียก
Three Points Perspective เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีเส้นน าสายตา ซึ่งเป็นเส้นขนานของวัตถุไป
รวมอยู่ที่จุดรวมสายตา และเส้นพื้น (Ground Line) เป็นเส้นที่ตั้งของวัตถุต่างๆ
2.1.1.1.2.2 ทัศนียวิทยำแบบบรรยำกำศ
บางครั้งเรียกว่า Atmospheric Perspective เป็นวิธีการสร้างระยะในผลงาน โดยอาศัย
คุณสมบัติของสี หรือเรียก Color perspective จากหลักฐานปรากฏว่าทัศนียวิทยาแบบบรรยากาศ
เป็นที่รู้จักของศิลปิน ตั้งแต่สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการ ซึ่ง เลโอนาร์โด ดา วินชี (Leonardo da Vinci)
35 วัชรพงศ์ หงษ์สุวรรณ, กำรเขียนแบบทัศนียภำพ (กรุงเทพฯ: วาดศิลป์ , 2551), 30-31.