Page 36 - kpi20858
P. 36

23






                              การสร้างผลงานศิลปกรรมทั้งจิตรกรรมและประติมากรรม ต้องศึกษากายวิภาคเป็นพื้นฐาน
                       เพราะไม่เพียงแต่การค านึงถึงความสวยงามเท่านั้น  ต าแหน่ง  รูปทรง  สัดส่วน  และการทรงตัว

                       ตลอดจนการเคลื่อนไหวที่แสดงการท างานที่สอดสัมพันธ์กันระหว่างโครงสร้างและกล้ามเนื้อ  ยังถือ

                       เป็นหลักส าคัญสูงสุดส าหรับการถ่ายทอดกายวิภาคที่งดงามตามแบบอย่างอุดมคติอีกด้วย

                              กายวิภาคที่ปรากฏในผลงานศิลปะตามหลักวิชา  ซึ่งเป็นแนวทางศิลปะที่ได้รับความนิยม

                       อย่างสูงในสมัยรัชกาลที่  5  เรื่อยมาจนถึงรัชกาลที่  7  แนวทางดังกล่าวตั้งอยู่บนความถูกต้องและ

                       งดงามตามอุดมคติ สะท้อนให้เห็นถึงความพยายามรื้อฟื้นแนวคิดเรื่องความสมบูรณ์แบบคลาสสิก

                       ที่ปรากฏขึ้นตั้งแต่สมัยกรีก  ผลงานทั้งหมดแสดงความเหมือนจริงของกายวิภาค  ทั้งสัดส่วน
                       โครงสร้าง  และการท างานของกล้ามเนื้อ  ตลอดจนองค์ประกอบต่าง  ๆ  ซึ่งประกอบสร้างขึ้น  เพื่อ

                       ส่งเสริมให้ผลงานเต็มเปี่ยมไปด้วยความงดงาม  ทั้งนี้เป็นผลมาจากปรัชญาของยุคสมัยที่ให้ความ

                       ส าคัญกับการศึกษาธรรมชาติเป็นแม่แบบ  จนเกิดปรัชญาที่ว่า  “ศิลปะคือการเลียนแบบธรรมชาติ”

                       ก่อเกิดสกุลความคิดแบบธรรมชาตินิยม  (Naturalism)   แต่ทว่าศิลปินชาวกรีกกลับมิได้ให้ความ
                                                                     28
                       ส าคัญต่อการน าเสนอเพียงแค่สภาวะที่ปรากฏตามความเป็นจริงในโลกธรรมชาติเท่านั้น  ผลงาน
                       งานของศิลปินข้ามผ่านความเหมือนจริงแบบปกติสามัญ  ไปสู่การน าเสนอความงดงามสมบูรณ์

                       พร้อมตามแบบอุดมคติ โดยมีระบบเรขาคณิตเป็นเครื่องมือในการเข้าถึงความงามของธรรมชาติ


                              การน าเสนอภายวิภาคมนุษย์  สัมพันธ์กับคณิตศาสตร์และสัดส่วนร่างกายของมนุษย์  ทั้ง
                       สองสิ่งนี้กลายเป็นสารัตถะหลักของ “ทฤษฎีทางด้านสัดส่วน” (Theory of Proportion) และพัฒนา

                       เป็นการศึกษาสัดส่วนของร่างกายมนุษย์ในเชิงสัมพันธ์กับเรขาคณิตจนเกิดเป็น  “ร่างกายแบบ

                       คลาสสิก” ขึ้น
                                  29
                              ชาวกรีกเชื่อว่าร่างกายของมนุษย์เป็นร่างกายที่สมบูรณ์ในเชิงอุดมคติ ร่างกายแบบคลาสสิก

                       (Classic Body) เป็นร่างกายที่ถูกลบเชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ อายุ หรือแม้แต่ศาสนาออกไป จนเหลือแต่

                       ความเป็นอุดมคติภายใต้สัดส่วนทางคณิตศาสตร์ที่ถือว่างดงาม  และเป็นตัวแทนของพระเจ้าอย่าง

                       สมบูรณ์แบบ  ความเป็นอุดมคติดังกล่าว  อยู่บนพื้นฐานของกฎเกณฑ์สองประการคือ  ความ

                       สมมาตร (Symmetry) และความเสถียรของร่างกาย (Static)   ซึ่งแสดงความสมดุลและความไม่
                                                                           30
                       เปลี่ยนแปลงไปตามปัจจัยด้านเวลาและกายภาพแวดล้อม  ด้านการก าหนดสัดส่วนของร่างกาย



                           28  สันติรักษ์ ประเสริฐสุข, สุนทรียศำสตร์และทฤษฎีสถำปัตยกรรมตะวันตก: จำกคลำสิกถึงดีคอนสตรัคชัน

                       (กรุงเทพ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,2552), 27-28.
                           29  เรื่องเดียวกัน, 34.
                           30 เรื่องเดียวกัน, 27-28.
   31   32   33   34   35   36   37   38   39   40   41