Page 41 - kpi20858
P. 41
28
เป็นแสงและเงาที่เกิดขึ้นจริงบนผิววัตถุ 3 มิติ ความกว้าง ยาว และความลึก แตกต่างไปตาม
คุณลักษณะพิเศษของ พื้นผิว มวล และปริมาตรของผลงานประติมากรรมชิ้นนั้นๆ
สี (Color) มีความสัมพันธ์กับค่าน ้าหนัก ซึ่งเป็นส่วนที่แสดงความสว่างและมืด หรือความ
อ่อนแก่ของสี ผลที่ตามมาคือ ก่อให้เกิดมิติความตื้นลึก หรือระยะในผลงาน นอกจากนี้สียัง
ก่อให้เกิดความแตกต่างของรูปกับพื้นอีกประการหนึ่ง
แสง (Light) เป็นพลังงานรูปหนึ่งที่รับรู้ได้ด้วยสายตา แสงช่วยให้สามารถมองเห็นสิ่งต่าง
ๆ ตลอดจนการมองเห็นสี แหล่งก าเนิดแสงมี 2 ประเภท คือ จากธรรมชาติ เช่น ดวงอาทิตย์ ฟ้า
แลบ ฟ้าผ่า หรือสัตว์บางชนิดที่มีแสงในตัวเอง ตลอดจนแสงที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้น เช่น แสงจาก
เทียนไข และหลอดไฟฟ้า เป็นต้น
เงา (Shadow) ในงานศิลปะ มี 2 ประเภท คือ เงาที่เกิดจากการที่แสงส่องมากระทบวัตถุ
แล้วเกิดเงาตกทอดของวัตถุทาบลงบนสิ่งแวดล้อมใกล้เคียง เรียก Cast Shadow กับเงาที่เกิดในตัว
วัตถุ ซึ่งจะมีรูปร่างคล้ายกับวัตถุนั้นๆ เรียกว่า Attached Shadows ซึ่งหมายถึงบริเวณพื้นที่ส่วนที่
37
เป็นเงามืดบนวัตถุ
ในประวัติศาสตร์สมัยคลาสสิก พลีนี ดิ เอลเดอร์ (Pliny The Elder) เป็นท่านแรกที่ได้
กล่าวถึงการวาดภาพมนุษย์และปรากฏเงาบนผนัง ต่อมา เพลโต อธิบายปรัชญาของเขาผ่าน
เรื่องราวของเงาในถ ้า อย่างไรก็ตามการวิเคราะห์ แสงและเงาอย่างละเอียดนั้นเริ่มโดย เลโอนาร์โด
ดา วินชี (Leonardo da Vinci) ในราวปี ค.ศ.1490 โดยอธิบายว่า ศิลปินสามารถใช้แสงและเงาเพื่อ
สร้างมิติภายในภาพได้
38
เลโอนาร์โด ดา วินชี เป็นศิลปินในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการ ซึ่งมุ่งเน้นศึกษาธรรมชาติเป็น
ครู ดังนั้นการใช้สีในงานจิตรกรรมยุคนี้จึงมีแนวโน้มที่ค านึงถึงความสมจริงดังที่ตามองเห็น ศิลปิน
เฝ้าสังเกตธรรมชาติ น าเสนอฉากทัศนียภาพต่างๆ โดยอาศัยหลักทัศนียวิทยา เพื่อหวังผลด้านมิติ
ลึกลวงและก าหนดสร้างระยะใกล้ไกลด้วยบรรยากาศของสี เมื่อประกอบร่วมกับการน าเสนอรูปทรง
มนุษย์ที่ถูกต้องสมจริงตามหลักกายวิภาค ยิ่งเป็นเสมือนสิ่งบ่งชี้ให้เห็นถึงปรัชญาแนวคิดแบบ
37 Essential vermeer, Shadow(s), accessed July,25, 2019, available from http://www.essential
vermeer.com/glossary/glossary_q_z.html#shadow
38 Pascal Mamassian, David C. Knill and Daniel Kersten, The perception of cast shadows, accessed
July,25, 2019, available from http://vision.psych.umn.edu/users/kersten/kersten-lab/papers/mamassian
TICS1998.pdf