Page 51 - kpi20858
P. 51
38
เมรุของอินทรชิต พระเมรุของบรรลัยจักร เมรุของนกสดายุ และศึกษาคติด้านฐานันดรศักดิ์ของพระ
เมรุมาศ พระเมรุ และเมรุสมัยรัตนโกสินทร์ในภาพจิตรกรรมฝาผนัง เรื่องรามเกียรติ์รอบพระระเบียง
วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ทั้งนี้ธศรได้สรุปความตอนหนึ่งว่า ฐานันดรศักดิ์ของบุคคลจะมีผล
โดยตรงต่อรูปแบบพระเมรุ และภาพจิตรกรรมฝาผนังเรื่องรามเกียรติ์เป็นการวาดภาพตามเนื้อหา
วรรณคดี อันเป็นเรื่องของจินตนาการ แต่การวาดภาพเล่าเรื่องก็ย่อมมีการสอดแทรกภาพของ
สภาพแวดล้อมหรือเหตุการณ์ในสมัยที่สร้างภาพจิตรกรรมนั้นๆ
งานวิจัยฉบับนี้ของ ธศร จึงมีการน าเสนอประเด็นที่มีความจ าเพาะเจาะจงไปที่การศึกษา
ภูมิหลัง และลักษณะสถาปัตยกรรมของพระเมรุมาศ พระเมรุ และเมรุ ในภาพจิตรกรรมเท่านั้น โดย
มิได้กล่าวถึงองค์ประกอบอื่นๆ ที่ปรากฏในภาพจิตรกรรมที่พระระเบียงวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
เช่นเดียวกันกับงานวิจัยของ จารุพรรณ ทรัพย์ปรุง จากมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ที่ได้
ท าการศึกษาเรื่อง “การศึกษาลายผ้าในงานจิตรกรรมฝาผนังวัดพระศรีรัตนศาสดาราม” ในปี พ.ศ.
2553 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาของลายผ้าไทยโบราณสมัยรัตนโกสินทร์
ตอนต้น และเพื่อวิเคราะห์ลายผ้าไทยโบราณในงานจิตรกรรมฝาผนังภาพตัวละครส าคัญในเรื่อง
รามเกียรติ์ บริเวณซุ้มประตู และมุขระเบียงของพระระเบียงวัดพระศรีรัตนศาสดาราม งานวิจัยฉบับ
นี้เป็นการมุ่งค้นหาความรู้เกี่ยวกับลายผ้าไทยโบราณสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น โดยมีการส ารวจ
ลายผ้าไทยโบราณที่ปรากฏในงานจิตรกรรมฝาผนัง ภาพตัวละครส าคัญในเรื่องรามเกียรติ์ที่บริเวณ
ซุ้มประตู และมุขระเบียงของพระระเบียงวัดพระศรีรัตนศาสดารามจ านวน 57 ภาพ เป็นการศึกษา
ลวดลายต่างๆ ที่ปรากฏอยูบนผ้า อาทิ ลายกรอบ ลายกรวยเชิง ลายกระจัง ลายกระหนก ลายก้าน
ลายกุดั่น ลายเกราะเพชร ฯลฯ ซึ่งจารุพรรณ ทรัพย์ปรุง สามารถรวบรวมไว้ทั้งสิ้น 30 ลาย
งานวิจัยข้างต้นเป็นตัวอย่างการวิจัยที่มุ่งศึกษาในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง แบบจ าเพาะเจาะจงถึง
สิ่งที่ปรากฏบนจิตรกรรมที่พระระเบียงวัดพระศรีรัตนศาสดาราราม เมื่อกล่าวถึงงานวิจัยที่มีความ
โดดเด่น และมีประเด็นของการศึกษาที่ครอบคลุม โดยมีการอธิบายที่มาเชิงประวัติศาสตร์ เนื้อหา
และรูปแบบของงานจิตรกรรมที่พระระเบียงวัดพระศรีรัตนศาสดารามไว้อย่างลึกซึ้ง คืองานวิจัย
ของ รุ่งโรจน์ ภิรมย์อนุกูล ซึ่งด าเนินการวิจัยภายใต้โครงการ “สยามในรัชสมัยพระบาทสมเด็จ
พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว” ในหัวข้อเรื่อง “จิตรกรรมระเบียงคดวัดพระศรีรัตนศาสดาราม” ได้รับทุน
วิจัยจาก มูลนิธิประชาธิปกร าไพพรรณี ภายในผลงานวิจัยมีการน าเสนอให้เห็นหลักฐานเชิงเอกสาร
ทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับวรรณกรรมเรื่องรามเกียรติ์ในแถบลุ่มน ้าเจ้าพระยา ตลอดจนความ
เป็นมาของการสร้างระเบียงคด โดยมีประเด็นส าคัญที่เกี่ยวข้องคือ มีการน าเสนอแนวคิดและข้อ
สันนิษฐานต่างๆ เกี่ยวกับภาพร่าง และรายชื่อของช่างเขียนที่ได้ร่วมสร้างผลงาน ทั้งนี้มีการ