Page 47 - kpi20858
P. 47

34






                       เป็นแบบอย่าง  ซึ่งเรียกได้ว่าเป็น  ขนบนิยม  นี้เองท าให้รูปร่างหน้าตาของตัวภาพอยู่ในแบบฉบับ
                                                                                     49
                       เดียวกันหมด มิได้แสดงลักษณะเฉพาะของตัวละครในวรรณคดีแต่ละเรื่อง  อย่างไรก็ตามในระดับ
                       ที่ 2 รูปแบบผสมอารมณ์ความเป็นจริง ได้แก่ รูปทรงที่เป็นข้าราชส านัก นักดนตรี และชนชั้นสูงนั้น

                       เริ่มมีความผ่อนปรนลงระดับหนึ่ง โดยสามารถพบการน าเสนออารมณ์ซึ่งปรากฏให้เห็นได้บนใบหน้า

                       ส่วนในระดับที่ 3 รูปแบบเลียนแบบความเป็นจริง เป็นรูปทรงที่แสดงออกด้วยภาพชาวบ้านสามัญ
                       ชนธรรมดา ช่างมีอิสระในการถ่ายทอดอารมณ์ หรือความรู้สึกบางประการที่เกิดจากประสบการณ์

                       ร่วมในสังคม สามารถสอดแทรกบรรยากาศ หรือเกร็ดทางประวัติศาสตร์ ความเป็นอยู่ของคนร่วม

                       สมัยลงบนผลงานได้ โดยที่สามารถน าเสนอภาพได้ตามความเป็นจริง ทั้งนี้ในระดับที่ 4 รูปแบบเกิน

                       ความเป็นจริง มีรูปทรงแสดงออกคือ รูปสัตว์นรกและลักษณะขุมนรกต่าง ๆ เปรต อสุรกาย หรือคน
                       ที่รับทุกข์ในนรก  เป็นภาพเกิดขึ้นโดยอาศัยจินตนาการ  เพื่อปลุกกระตุ้นให้เกิดอารมณ์อันน่า

                       สะพรึงกลัว  หรือความสลดหดหู่  ถือเป็นกลุ่มรูปทรงที่ศิลปินสามารถมีอิสระในการสร้างสรรค์มาก

                       ที่สุด


                              การน าเสนอรูปทรงมนุษย์  และสรรพสิ่งแห่งโลกวัตถุในงานจิตรกรรมประเพณีของไทย  ก่อ
                       ก าเนิดขึ้นจากการคลี่คลายรูปทรงให้ออกห่างไปจากความจริง  ยังผลเพื่อสะท้อนแนวคิดเชิงอุดม

                       คติ  อันเกี่ยวข้องกับศาสนาซึ่งเป็นสภาวะนามธรรม  อาจกล่าวได้ว่าการสร้างงานจิตรกรรมด้วย

                       รูปแบบเหมือนจริงนั้นไม่สามารถเข้าถึงภาวะดังกล่าวได้ดี  เท่ากับรูปทรงอันเกิดจากการคลี่คลาย

                       ไปสู่การแสดงออกแบบอุดมคติตามขนบที่ช่างชาวไทยต่างยึดถือและปฏิบัติสืบต่อกันมา


                              2.1.2.1.2 มุมมองและกำรสร้ำงระยะในงำนจิตรกรรมไทย

                              ด้านการน าเสนอทัศนียภาพในงานจิตรกรรมไทยนั้น มีการน าเสนอภาพแบบแผ่ขยาย เพื่อ

                       ถ่ายทอดเรื่องราวต่างๆ บนผนังได้อย่างเต็มพื้นที่ ช่างไทยมิได้ค านึงถึงความเป็นจริงทางทัศนียภาพ

                       แต่ละรูปทรงตั้งซ้อนกันแบบเส้นขนาน ทุกรูปทรงตั้งอยู่บนพื้นเดียวกัน ภาพโดยส่วนรวมคล้ายมอง
                       จากที่สูงแบบตานกมองก็จริง  แต่เมื่อพิจารณาดูรูปทรง  ไม่ว่าจะอยู่ในส่วนใดของผนัง  ส่วนล่าง

                       ส่วนบน ด้านซ้าย หรือด้านขวาจะมีขนาดและความคมชัดเท่ากัน และทัศนียภาพโดยส่วนรวมจะ

                                                                                      50
                       มีแต่ความกว้างและความยาว  ไม่มีความหนาและความลึกของรูปทรง   อย่างไรก็ตามผู้ชม
                       สามารถรับรู้ได้ถึงระยะจากต าแหน่งที่มอง และรู้สึกได้ว่าส่วนที่อยู่ใกล้ตัวคือการแสดงภาพในระยะ

                       หน้า  และภาพที่ไกลตัวผู้ชมออกไปคือระยะหลัง  ถือเป็นการก าหนดองค์ประกอบอย่างชาญฉลาด



                           49  วิทย์ พิณคันเงิน, งำนช่ำงเขียนของไทย (กรุงเทพฯ: เมธีทิปส์, 2547), 27.
                           50  สุรศักดิ์ เจริญวงศ์, ขนบนิยมในกำรสร้ำงสรรค์และกำรน ำเสนอจิตรกรรมไทยประเพณี, 8-9.
   42   43   44   45   46   47   48   49   50   51   52