Page 52 - kpi20858
P. 52
39
วิเคราะห์มูลเหตุของการสร้างจิตรกรรมภาพรามเกียรติ์ว่าเป็นของบูชาในพระพุทธศาสนา และ
จากความยาวของวรรณกรรม มีความเหมาะสมที่จะน ามาใช้เขียนในพื้นที่ซึ่งมีขนาดใหญ่ นอก
จากนี้ รุ่งโรจน์ยังสรุปอีกว่า มีความเห็นสอดคล้องกับสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยา
นริศรานุวัดติวงศ์ ซึ่งกล่าวว่า การสร้างภาพจิตรกรรมเล่าเรื่องที่ผนังน่าจะรับอิทธิพลมาจาก
วัฒนธรรมทะเลสาบเขมรช่วงพุทธศตวรรษที่ 17-18 นอกจากนี้ยังได้กล่าวถึงการล าดับภาพ การ
วางโครงสร้างในงานจิตรกรรม รูปแบบการเขียนทั้งบุคคล ทิวทัศน์ สถาปัตยกรรมทั้งปราสาท พระที่
นั่ง ปราสาทบริวาร ต าหนัก ประตูเมือง และพระเมรุ ซึ่งบางครั้งมีการอ้างอิงของจริงร่วมสมัย ด้าน
เนื้อหา มีการวิเคราะห์เชิงประติมานวิทยา เพื่ออธิบายความในภาพเกี่ยวกับฉากต่างๆ ถือได้ว่า เป็น
งานวิจัยที่กล่าวถึงจิตรกรรมที่พระระเบียงวัดพระศรีรัตนศาสดารารามได้อย่างละเอียดลึกซึ้ง ทว่ามี
ความแตกต่างจากการศึกษาในครั้งนี้ ซึ่งท าการศึกษาจิตรกรรมที่พระระเบียงวัดพระศรีรัตนศาสดา
รารามเป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัย มุ่งท าการวิเคราะห์ภาพรวมของรูปแบบอันได้รับอิทธิพลจาก
วิทยาการทางศิลปะของตะวันตก เพื่อสะท้อนสภาพการณ์ทางศิลปะในรัชสมัยพระบาทสมเด็จ
พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเท่านั้น
จิตรกรรมที่วัดสุวรรณดารารามจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และจิตรกรรมฝาผนังที่พระ
อุโบสถวัดสามแก้ว จังหวัดชุมพร ถือเป็นหัวข้อที่ส าคัญส าหรับการศึกษาวิจัยฉบับนี้ เนื่องจาก
จิตรกรรมที่วัดทั้งสองแห่งนี้ สร้างโดยพระยาอนุศาสน์ จิตรกร ช่างเขียนคนส าคัญแห่งยุค ผลงาน
ของท่านเป็นภาพแทนที่สะท้อนให้เห็นถึงความคิดแบบสมัยใหม่ได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้ วาสนา พบ
ลาภ จากมหาวิทยาลัยศิลปากร ได้ท าการศึกษาวิจัยเรื่อง “การศึกษาจิตรกรรมฝาผนังภายในวิหาร
วัดสุวรรณดาราราม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา” ขึ้นในปี พ.ศ.2546 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา
อิทธิพลและวัฒนธรรมตะวันตก ตลอดจนผลกระทบต่างๆ ที่มีส่งผลต่อความเปลี่ยนแปลงในด้าน
เนื้อหา และรูปแบบของจิตรกรรมฝาผนังไทย ตั้งแต่ระยะแรกจนกระทั่งถึงก่อนเปลี่ยนแปลงการ
ปกครองใน พ.ศ.2475 และเพื่อศึกษาเรื่องราว รูปแบบ การน าเสนองานจิตรกรรมฝาผนังวัดสุวรรณ
ดาราราม ผลของการศึกษาท าให้ทราบถึงการเปลี่ยนแปลงทางด้านรูปแบบ ที่มีลักษณะปรับตัวให้
เข้ากับยุคสมัยโดยน าเสนอความสมจริง มีการน าเสนอรูปทรงที่ยังคงผสานอุดมคติแบบไทย และ
รูปทรงที่แสดงความสมจริง อีกทั้งยังมีการวิเคราะห์ถึงรูปแบบสถาปัตยกรรมซึ่งมีการใช้หลักทัศนีย
วิทยาแบบตะวันตก ตลอดจนฉากธรรมชาติ และการใช้สี ประกอบกับมีการกล่าวถึงเทคนิคการ
เขียนภาพสีน ้ามันบนฝาผนัง นอกจากนี้ด้านเนื้อหามีความเปลี่ยนแปลงไปเป็นเรื่องราวทาง
ประวัติศาสตร์ ซึ่งวาสนาสันนิษฐานว่า การน าเสนอเนื้อหาเรื่องพระราชพงศาวดารของพระบาท
สมเด็จพระนเรศวรนั้น น่าจะมีสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากความพยายามในการที่จะสร้างความรู้สึก