Page 50 - kpi20858
P. 50

37






                       เปรียบเทียบกับแนวทางการแสดงออกของช่างหรือศิลปินที่รับเอาแนวคิดเรื่อง การสร้างประติมากรรม
                       รูปมนุษย์มาจากอิทธิพลศิลปะตะวันตก ซึ่งมีปรากฏเด่นชัดในงานประติมากรรมไทยสมัยรัตนโกสินทร์


                              สังคมไทยด ารงชีวิตผูกพันเกี่ยวข้องกับพุทธศาสนาอย่างลึกซึ้ง  ดังนั้นรูปแบบของงาน

                       ประติมากรรม  จึงเป็นรูปทรงแห่งวัตถุ  ที่ได้รับการสร้างสรรค์ขึ้น  เพื่อเป็นสิ่งแทน  เป็นสิ่งพรรณนา
                                                                               54
                       ความรู้สึก อุดมคติ และความเชื่อที่เป็นนามธรรมออกมาเป็นรูปธรรม  ลักษณะรวมของประติมากรรม
                       ในแต่ละสมัยก็ย่อมแตกต่างกันตามค่านิยมและอุดมคติการการสร้างงานในแต่ละยุค



                       2.2 งำนวิจัยที่เกี่ยวข้อง

                              การค้นคว้าในหัวข้อนี้มีความเกี่ยวข้องกับการส ารวจงานวิจัย  ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับ

                       การศึกษาศิลปกรรมในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ในประเด็นเรื่องงานจิตรกรรม

                       และประติมากรรม ที่อยู่ในขอบข่ายของระยะเวลาในการศึกษา คือ พ.ศ.2468-2477 เท่านั้น โดย

                       สามารถสรุปเป็นด้านจิตรกรรม และประติมากรรมได้ดังนี้


                              2.2.1 จิตรกรรม

                              การศึกษาถึงงานวิจัยที่เกี่ยวข้องในประเด็นของงานจิตรกรรมนั้น  พบว่ามีผู้ศึกษาวิจัยเรื่อง

                       จิตรกรรมที่อยู่ในขอบข่ายของรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ในหัวข้อที่เกี่ยวข้อง

                       กับจิตรกรรมฝาผนังที่พระระเบียงวัดพระศรีรัตนศาสดาราม  ซึ่งมักเป็นการศึกษาที่มุ่งเน้นวิเคราะห์

                       ในสิ่งจ าเพาะเจาะจงในส่วนรายละเอียด กล่าวคือ ในปี พ.ศ.2550 สนั่น รัตนะ ศึกษาภาพพระราช
                       พิธีที่ปรากฏในงานจิตรกรรมบนพระระเบียงวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในปีเดียวกันนี้ วิฑูรย์ ไชยดี

                       จากสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์   ซึ่งได้ท าการวิจัยเรื่อง  “ภาพทิวทัศน์ที่ปรากฏบนพระระเบียงวัดพระ

                       ศรีรัตนศาสดาราม”

                              ต่อมาในปี พ.ศ.2552 ธศร ยิ้มสงวน ได้ท าการวิจัยเรื่อง “พระเมรุมาศ พระเมรุ และเมรุใน

                       ภาพจิตรกรรมฝาผนังเรื่องรามเกียรติ์รอบพระระเบียงวัดพระศรีรัตนศาสดาราม”  งานวิจัยนี้เป็นส่วน

                       หนึ่งของวิทยานิพนธ์ระดับมหาบัณฑิต  สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ  มหาวิทยาลัยศิลปากร  มี

                       วัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบของพระเมรุมาศ พระเมรุ และเมรุสมัยรัตนโกสินทร์ในภาพจิตรกรรม

                       ฝาผนัง เรื่องรามเกียรติ์รอบพระระเบียงวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ทั้ง 7 ตอน คือพระเมรุมาศของ
                       ท้าวทศรถ พระเมรุมาศของทศกัณฐ์ พระเมรุมาศของท้าวจักรวรรดิ พระเมรุมาศของพญาพาลี พระ



                           54  คณะกรรมการโครงการสารานุกรมไทยฉบับเยาวชน, ประติมำกรรมไทย,  เข้าถึงเมื่อ 26 มิถุนายน 2562 เข้าถึงได้
                       จาก http://saranukromthai.or.th/sub/book/book.php?book=14&chap=3&page=t14-3-infodetail02.html
   45   46   47   48   49   50   51   52   53   54   55