Page 49 - kpi20858
P. 49
36
โดยมากบุคคลส าคัญของเรื่อง ซึ่งมักเป็นชนชั้นสูงจะได้รับการก าหนดรายละเอียดอย่างประณีต
บรรจง ประกอบกับมีการใช้สีเพื่อขับเน้นความส าคัญของบุคคลให้โดดเด่นยิ่งขึ้น เช่น สีผิวกายสี
เนื้ออ่อน สวมใส่เครื่องประดับซึ่งเกิดจากการปิดทองแล้วตัดเส้น เป็นต้น
2.1.2.2 ขนบนิยมในงำนประติมำกรรมไทย
ประติมากรรมไทยเป็นการน าเสนอผลงานทางทัศนศิลป์ แขนงหนึ่ง ประกอบไปด้วยวิธีการ
ปั้น การแกะสลัก ตลอดจนการหล่อ การสร้างประติมากรรมตามขนบนิยม หรืองานประติมากรรม
แบบดั้งเดิมนั้นเป็นเช่นเดียวกันกับงานจิตรกรรม ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อตอบสนองต่อความศรัทธา
ทางศาสนา ตลอดจนสถาบันกษัตริย์เป็นหลัก เช่น พระมหากษัตริย์ทรงสร้างพระพุทธรูปเพื่อให้เป็น
พุทธบูชา หรือสร้างเทวรูปเพื่อเป็นเทวบูชา อันเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจให้แก่ผู้คนในสังคม อีกทั้ง
ยังมีการสร้างลวดลายปูนปั้น เพื่อประดับตกแต่งศาสนสถาน ตลอดจนพระราชวังให้เกิดความ
งดงามวิจิตร อาจกล่าวได้ว่าประติมากรหรือช่างในอดีตสร้างสรรค์ผลงานตั้งแต่ขนาดเล็ก อาทิ สิ่ง
ตกแต่ง หรือเครื่องลางของขลัง ไปจนถึงผลงานที่เป็นประติมากรรมขนาดใหญ่ เช่น การหล่อ
พระพุทธรูป หรือเทวรูป เป็นต้น ทั้งนี้ประติมากรรมของไทยแบบดั้งเดิมของไทย สามารถแบ่ง
ออกเป็น 2 ประเภท คือ
ประเภทที่ 1 ประติมากรรมรูปคน ได้แก่ การสร้างเทวรูปตามคติฮินดู การสร้าง
พระพุทธรูป เทวดา นางฟ้า ยักษ์ตามคติพุทธศาสนา ฝ่ายหินยาน และมหายาน มักสร้าง
ด้วยทองสัมฤทธิ์ ปูนปั้น ดินเผา และไม้จ าหลัก
ประเภทที่ 2 ประติมากรรมตกแต่ง ส่วนใหญ่สร้างไม้ และปูนปั้น ให้เป็น
เครื่องประดับตกแต่งทั้งภายนอกและภายในโบสถ์วิหาร ปราสาทราชวัง เช่น ลายหน้าบัน
คันทวย บัวหัวเสา ลายกรอบซุ้มประตูหน้าต่าง ฯลฯ นอกจากนั้นยัง ประกอบฐานสถูป
เจดีย์ ซุ้มพระพุทธรูป และฐานชุกชี บัวพระที่นั่งบัลลังก์และอื่นๆ บรรดาเครื่องตกแต่ง
53
ดังกล่าวมานี้ มีอยู่ทุกลักษณะตั้งแต่ภาพนูนต ่า นูนสูงจนถึงภาพลอยตัว
ประติมากรรมไทยแบบดั้งเดิมนี้มีการกระท าสืบต่อกันมาอย่างยาวนาน โดยเริ่มตั้งแต่
สมัยเชียงแสน สุโขทัย อู่ทอง อยุธยา จนถึงรัตนโกสินทร์ อย่างไรก็ตามในงานวิจัยนี้จะมุ่งเน้น
กล่าวถึงเพียงประติมากรรมประเภทที่ 1 ประติมากรรมรูปคนเท่านั้น เนื่องจากสามารถน าไปใช้
53 คณะจิตรกรรม ประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, สมุดภำพประติมำกรรมกรุงรัตนโกสินทร์
(กรุงเทพฯ: กราฟิคอาร์ต, 2525),12.