Page 54 - kpi20858
P. 54

41






                              2.3.2 ประติมำกรรม

                              ประติมากรรมในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว  ปรากฏในรูปแบบอนุสาวรีย์

                       ประติมากรรมรูปเหมือน  และเหรียญ  จากการส ารวจงานวิจัยที่เกี่ยวข้องนั้น  พบว่าเป็นการศึกษา
                       แบบเฉพาะเรื่อง  ดังเช่น  ในปี  พ.ศ.2527  พิบูลย์  หัตถกิจโกศล  จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  ได้

                       ท าการศึกษาในหัวข้อ  “อนุสาวรีย์ไทย:  การศึกษาในเชิงการเมือง”  มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์

                       ความหมายที่ซ่อนเร้นในอนุสาวรีย์ของไทย  ซึ่งปรากฏว่ามีการศึกษาถึงอนุสาวรีย์ที่อยู่ในขอบข่าย

                       ของการศึกษา คือ ปฐมบรมราชานุสรณ์ และอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี ทั้งนี้มีความมุ่งเน้นไปที่วิเคราะห์
                       ที่ความหมายทางการเมืองโดยเฉพาะ จากการศึกษาของพิบูลย์ สรุปได้ว่า การสร้างปฐมบรมราชา

                       นุสรณ์  ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น  อยู่ในช่วงเวลาของความเปลี่ยนแปลง

                       อันเกิดจากแรงขับเคลื่อนของคนรุ่นใหม่ที่ส าเร็จการศึกษามาจากต่างประเทศ  ตลอดรัชสมัยของ

                       พระองค์ต้องการสร้างเสถียรภาพให้แก่สถาบันกษัตริย์  อนุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า
                       จุฬาโลกนั้นสร้างเนื่องในโอกาสสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ครบ  150  ปี  การออกแบบให้มีขนาดใหญ่

                       เพื่อเน้นย ้าถึงความส าคัญของสถาบัน  เป็นการเสริมสร้างความจงรักภักดีของประชาชนที่มีต่อ

                       ราชวงศ์จักรี  ส่วนอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารีนั้น  ตั้งอยู่บนแท่นฐานที่มิได้สูงมากเพื่อแสดงความเป็น

                       สามัญ สอดคล้องกับอุดมการณ์ทางการเมืองขณะนั้นที่ผู้น ามาจากรัฐบาลพลเรือนที่มาจากสามัญ

                       ชน อย่างไรก็ตามงานวิจัยฉบับนี้มีการกล่าวถึงอนุสาวรีย์อื่นๆ อีกด้วย การศึกษาของพิบูลย์ นั้นมุ่ง
                       ประเด็นไปที่การตีความด้านความหมายที่แฝงเร้น ทว่าไม่มีการกล่าวถึงรูปแบบของการสร้างมากนัก


                              ภาพรวมของการกล่าวถึงการสร้างสรรค์ทางศิลปะในประเทศไทยนั้น  ปรากฏหนังสือที่ได้

                       น าเสนอในเชิงประวัติความเป็นมาของศิลปะในแต่ละช่วงเวลา  อาทิ  หนังสือจากสยามเก่าสู่ไทย
                       ใหม่  โดย  สุธี  คุณาวิชยานนท์  ที่ได้น าเสนอแง่มุมทางศิลปะซึ่งด าเนินควบคู่ไปพร้อมกับความ

                       เปลี่ยนแปลงทางสังคมในด้านต่างๆ  ทั้งนีเมื่อด าเนินมาถึงรัชกาลที่  7  พบว่า  มีการกล่าวถึงการ

                       ฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ครบ  150  ปี  มีการเขียนภาพจิตรกรรมที่พระระเบียงวัดพระศรีรัตนศาสดา

                       ราม ระดมช่างเขียนกว่า 70ท่าน ตลอดจนจิตรกรรมสีน ้ามันที่สร้างโดย พระสรลักษณ์ลิขิต และช่าง
                       ชาวต่างประเทศอีกเล็กน้อย  รวมทั้งการสร้างศาลาเฉลิมกรุง  และงานสร้างสรรค์ที่ส าคัญคือ  ปฐม

                       บรมราชานุสรณ์  ซึ่งถือเป็นช่วงเวลาที่ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ก าลังถูกท้าทาย  จนน าไปสู่

                       การเปลี่ยนแปลงการปกครองในที่สุด  เช่นเดียวกับหนังสือชื่อ  “จิตรกรรมและประติมากรรมแบบ

                       ตะวันตกในราชส านัก  เล่ม  1”  ตีพิมพ์เมื่อปี  พ.ศ.2539  โดย  อภินันท์  โปษยานนท์  ตอนหนึ่งของ

                       เนื้อหาในเล่ม  ได้มีการรวบรวมเอาผลงานจิตรกรรมและประติมากรรมที่เกิดขึ้นในรัชสมัยพระบาท
                       สมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่อยู่หัว  ทั้งฝีมือของศิลปินชาวตะวันตกและชาวไทย  มีเนื้อหาที่เกี่ยวเนื่อง
   49   50   51   52   53   54   55   56   57   58   59