Page 57 - kpi20858
P. 57

14






                       2.1 ทฤษฎีในการสร้างงานศิลปะที่เกี่ยวข้อง

                              ผลงานศิลปะที่ปรากฏในสังคมหนึ่งๆ  เป็นเสมือนกระจกเงาที่สะท้อนแนวคิดและรูปแบบซึ่ง

                       สัมพันธ์กับบริบทแวดล้อมต่างๆ ทางสังคม การศึกษาถึงทฤษฎีทางศิลปะนั้นมีความส าคัญเป็นอย่างยิ่ง
                       เหตุเพราะมีความเกี่ยวพันกับการก าหนดรูปแบบทางศิลปกรรมของแต่ละยุคสมัย


                              ทฤษฎีและแนวทางในการสร้างงานศิลปกรรมที่ปรากฏในบทนี้  จะน าเสนอเฉพาะทฤษฎีที่มี

                       ความเกี่ยวข้องและมีบทบาทส าคัญต่อการสร้างสรรค์ในช่วงเวลาของการศึกษาคือ  รัชสมัยพระบาท
                       สมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งขณะนั้นทฤษฎีทางศิลปะตะวันตกว่าด้วยรูปแบบความเหมือนจริง ถูก

                       น ามาใช้ประกอบสร้างศิลปะสมัยใหม่ให้เกิดขึ้นในประเทศไทย  อีกทั้งยังถูกน ามาปรับประยุกต์ให้เกิด

                       ความสอดคล้องกับลักษณะนิสัยและการแสดงออกของช่างไทย ดังนั้นการศึกษาถึง ทฤษฎีในการสร้าง

                       งานศิลปะที่เกี่ยวข้อง  ย่อมต้องกล่าวถึงแนวคิดและทฤษฎีทางศิลปะตะวันตก  ตลอดจนขนบนิยมใน
                       งานศิลปกรรมของไทย  เพื่อเปรียบเทียบให้เห็นเค้าโครงของลักษณะการแสดงออกของยุคสมัยได้

                       อย่างชัดเจนยิ่งขึ้น



                       2.1.1  แนวคิดและทฤษฎีทางศิลปะตะวันตก

                              ทฤษฎีทางศิลปะตะวันตกได้รับการเผยแพร่ผ่านการเข้ามาของศิลปินตะวันตก  ถ่ายทอดให้แก่

                       ศิลปินไทย  ตลอดจนแหล่งความรู้ที่ส าคัญของไทย  2  แหล่ง  ได้แก่  โรงเรียนเพาะช่าง  ซึ่งเป็นสถาบัน
                       ศิลปะที่ก่อตั้งขึ้นตั้งแต่รัชสมัย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และจากศาสตราจารย์ศิลป์  พี

                       ระศรี (Corrado Feroci) ชาวอิตาเลียน ซึ่งขณะนั้นที่ได้รับการว่าจ้างให้เข้ามาสร้างงานประติมากรรมใน

                       ประเทศไทย  ตั้งแต่ปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเช่นกัน  ครั้นเมื่อถึงรัชสมัย

                       พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว  ศาสตราจารย์ศิลป์   พีระศรี  ได้ท าการเปิดอบรมให้แก่ข้าราชการ
                       และนักเรียนอย่างไม่เป็นทางการ   เรื่อยมาจนกระทั่งปลายรัชกาลจึงได้มีการก่อตั้งโรงเรียนประณีต

                       ศิลปกรรมอย่างเป็นทางการ  ทั้งนี้การกล่าวถึงรายละเอียดของแหล่งความรู้ข้างต้น  จะปรากฏอยู่ใน

                       หัวข้อเอกสารและข้อมูลทางประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง  อย่างไรก็ดีในส่วนของการศึกษาทฤษฎีทางศิลปะ

                       ตะวันตกจะท าการกล่าวถึงพอสังเขป ประกอบด้วยหัวข้อต่าง ๆ ดังนี้
   52   53   54   55   56   57   58   59   60   61   62