Page 58 - kpi20858
P. 58

15






                              2.1.1.1  ศิลปะตามหลักวิชา

                              ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว  ถือเป็นช่วงรอยต่อหนึ่งที่ส าคัญ  เป็นเวลาที่

                       ศิลปะตามขนบนิยมแบบดั้งเดิมของไทยได้ปรับผสาน  รับเอาแนวทางศิลปะจากชาติตะวันตกมาแสดง
                       ออก  จนก่อให้เกิดรูปแบบใหม่  ทั้งศิลปกรรมไทยแนวตะวันตก  และศิลปกรรมแบบตะวันตก  โดยที่

                       แนวทางดังกล่าวมุ่งเน้นแสดงความเหมือนจริง เกี่ยวพันกับการสร้างสรรค์ศิลปะตามหลักวิชา แต่ความ

                       เหมือนจริงดังกล่าวหาใช่เหมือนจริงดังที่ปรากฏ  หรือดังที่ตาเห็น  ทว่ากลับผสานแทรกเอาแนวคิดแบบ

                       อุดมคติ ซึ่งมีความถึงพร้อมด้วยความงามอันสมบูรณ์แบบเข้าไว้ด้วยกัน

                              “ศิลปะตามหลักวิชา” (Academic  Art)  หมายถึง  งานศิลปกรรมที่สร้างขึ้นตามทฤษฎี  โดยมี

                       มาตรฐานและหลักเกณฑ์ตามหลักวิชาที่สถาบันหรือสกุลศิลปะนั้นๆ ได้ก าหนดว่าดีงาม ถูกต้อง เป็นที่

                                                           11
                       นิยมและได้ถือเป็นหลักปฏิบัติสืบทอดกันมา  จากค ากล่าวข้างต้นแสดงให้เห็นว่าการนิยามความหมาย
                       ของค าว่า  “ศิลปะตามหลักวิชา”  ดังกล่าว  คือความพยายามในการอธิบายแนวทางของการแสดงออก

                       ทางศิลปะที่มีความเกี่ยวพันกับปัจจัยด้านค่านิยมที่ถูกก าหนดโดยกลุ่มคน  หรือสถาบันในการวางกรอบ

                       เกณฑ์ของแนวความคิดและรูปแบบในการแสดงออกของช่างหรือศิลปิน  ดังนั้นศิลปะตามหลักวิชา

                       จึงสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามความนิยมแห่งยุคสมัย

                              กระแสความนิยมผลงานศิลปะตามหลักวิชาอย่างตะวันตกในประเทศไทยนั้น  ชัดเจนขึ้นในรัช

                       สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  ที่ทรงพอพระทัยศิลปะที่เน้นความเหมือนจริงตามแนว

                       ทางของการแสดงออกแบบศิลปะตามหลักวิชา  สังเกตได้จากการการซื้องานศิลปะของศิลปินชาว

                       อิตาเลียนมากที่สุด ส่วนผลงานจากศิลปินชาวฝรั่งเศสโดยมากก็ยังนิยมศิลปะตามหลักวิชา  อย่างไรก็
                                                                                                   12
                       ตามเมื่อเข้าสู่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการว่าจ้างประติมากรชาวอิตาเลียน

                       คือ ศาสตราจารย์ คอร์ราโด เฟโรจี หรือศาสตราจารย์ศิลป์  พีระศรี เข้ามารับราชการต าแหน่งช่างปั้น

                       ของกรมศิลปากร  ในปี  พ.ศ.2466  เป็นผู้สร้างสรรค์อนุสาวรีย์ส าคัญในประเทศไทย  โดยมีแนวทางใน

                       การสร้างผลงานแบบเหมือนจริง สอดรับกับความต้องการของสถาบันกษัตริย์ซึ่งเป็นผู้อุปถัมภ์ นอกจากนี้
                       ต่อมาศาสตราจารย์ศิลป์   พีระศรี  ยังได้ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญทางศิลปะของกรมศิลปากรก่อตั้งโรงเรียน





                           11  ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศิลปะ อังกฤษ-ไทย,พิมพ์ครั้งที่ 2 (กรุเทพ: โรงพิมพ์คุรุสภา, 2541), 3.

                           12  สุธี คุณาวิชยานนท์, จากสยามเก่าสู่ไทยใหม่: ว่าด้วยความพลิกผันของศิลปะจากประเพณีสู่สมัยใหม่และร่วมสมัย
                       (กรุงเทพฯ: หอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2545), 24.
   53   54   55   56   57   58   59   60   61   62   63